ก้าวทันโรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

มะเร็งเต้านม

สาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม

  • การมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะสตรีที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปพบว่าสตรีในกลุ่มนี้มีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมสูงกว่ากลุ่มที่อายุน้อยกว่า 40 ปีหลายเท่าอย่างชัดเจน
  • การมีประวัติทางพันธุกรรม พบว่าสตรีที่มีญาติ ได้แก่ แม่ ยาย ย่า พี่สาว น้องสาว ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะการที่ญาติเป็นโรคมะเร็งเต้านมทั้ง 2 ข้าง ตลอดจนถึงการที่มีญาติทางฝ่ายชายที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม จะมีความเสี่ยงที่ตนเองจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูงกว่าคนทั่วไปมาก และนอกจากนี้ยังพบว่า โรคมะเร็งอื่นๆ ในญาติก็มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ เช่นเดียวกัน ได้แก่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งสมอง เป็นต้น
  • สตรีที่เคยเป็นโรคมะเร็งเต้านมมาก่อน พบว่าเต้านมอีกข้างก็มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้อีกเช่นกัน โดยพบได้ร้อยละ 1 ต่อปี
  • สตรีที่มีฮอร์โมนเพศหญิง (หรือที่เรียกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจน) อยู่ในระดับสูง เนื่องจากเต้านมเป็นอวัยวะที่ถูกหล่อเลี้ยง เซลล์ให้แบ่งตัวเจริญเติบโต ตามการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง จึงมีการกระตุ้นเซลล์เต้านม ให้แบ่งตัวอยู่เป็นเวลานาน ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่เซลล์เต้านมจะมีการแบ่งตัวผิดปกติ จนทำให้กลายเป็นโรคมะเร็งเต้านมตามมาได้

อาการของโรคมะเร็งเต้านม

มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยจะมีการคลำพบก้อนที่เต้านม ส่วนน้อยจะเป็นผู้ป่วยที่ตรวจพบจากการตรวจคัดกรองอาการและสิ่งตรวจพบในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ได้แก่

  • มีก้อนเนื้อที่เต้านม (15-20%) ของก้อนเนื้อที่คลำได้เท่านั้นที่เป็นมะเร็ง
  • >มีการเปลี่ยนแปลงเช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วน เป็นสะเก็ด
  • หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ
  • มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม (20% ของการมีเลือกออกเป็นมะเร็ง)
  • เจ็บเต้านม (เต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากมีก้อนโตมากแล้ว)
  • การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต
  • สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัว เป็นโรคมะเร็งเต้านมควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจต้องตรวจแมมโมแกรมเร็วกว่าปกติ

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม

เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุภาพสตรีทุกท่าน เนื่องจากสามารถตรวจลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมลงได้ หากมีการค้นพบโรคที่เพิ่งก่อตัวเกิดขึ้น โดยที่ยังไม่มีการลุกลาม การตรวจประกอบด้วย

  • การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  • การตรวจเต้านมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • การตรวจด้วยแมมโมแกรม

การตรวจเต้านมด้วยเครื่อง MAMMOGRAM (แมมโมแกรม)

เครื่องเอกซเรย์ ที่ออกแบบพิเศษ ให้โดนปริมาณรังสีน้อยมาก และเห็นรายละเอียดภายในเนื้อเต้านมได้ชัดเจน โดยที่เครื่องทั่วไปทำไม่ได้ การทำแมมโมแกรมเหมาะสำหรับการตรวจหาก้อนเนื้อที่ผิดปกติในคนปกติทั่วไป เพราะจะสามารถเห็นก้อนเนื้อที่ผิดปกติดังกล่าว และคาดว่าจะเจริญต่อไปเป็นมะเร็งตั้งแต่ที่มันยังไม่ได้ ฟอร์มตัวเป็นก้อนหรือก้อนเล็กมากจนคลำไม่ได้ ซึ่งตอนนั้นโอกาสหายมีสูงมาก

การตรวจเต้านมด้วยเครื่อง MAMMOGRAM (แมมโมแกรม)

การรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน ประกอบด้วย

  • การผ่าตัด
  • การให้ยาเคมีบำบัด
  • การฉายแสง
  • การให้ยาต้านฮอร์โมน
  • การให้ยาต้านการทำงานในชีวโมเลกุล

การรักษาเสริม

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับเคมีบำบัด การฉายแสงจะทำในผู้ป่วยที่เลือกผ่าตัดแบบสงวนเต้านมไว้ทุกราย ผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ มีการแพร่เข้าต่อมน้ำเหลืองรักแร้จำนวนมาก ยาต้านฮอร์โมนเพศหญิงจะให้ในผู้ป่วยที่มีการตรวจพบตัวรับยาต้านการทำงานในระดับชีวโมเลกุล จะให้ผู้ป่วยที่ตรวจพบมี ตัวรับทางชีวโมเลกุลในเซลลล์มะเร็ง

สตรีที่มีประวัติเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม

  • ไม่มีบุตร
  • อายุแรกมีประจำเดือน คืออายุน้อยกว่า 13 ปี และหมดประจำเดือนเมื่ออายุมากกว่า 55 ปี
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
  • อายุที่ตั้งท้องแรก (เกิน 30 ปี)



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ศูนย์เต้านม
ชั้น 1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 110, 111



ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล: