ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จำเป็นแค่ไหน

มะเร็งเต้านม

“มะเร็งเต้านม” ถือว่าเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิงทั่วโลก และเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงไทยปัจจุบัน เนื่องจากว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีการรักษามีการพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือตรวจที่ทันสมัยมากขึ้น ร่วมกับผู้หญิงยุคใหม่ให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพมากขึ้น ทำให้สามารถตรวจพบมะเร็งเต้า นมในระยะแรก ๆ ได้เร็วขึ้น การรักษาให้หายจึงมีมากขึ้นตามลำดับ

เรารู้จัก “มะเร็งเต้านม” ดีแล้วหรือยัง?

“มะเร็งเต้านม” คือการที่มีเซลล์ของเต้านมผิดปกติ เติบโตและแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว อาจโตขึ้นจนเป็นก้อนที่สามรถคลำพบได้หรือไม่ได้ ทั้งนี้ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังพบว่า มะเร็งเต้านมในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ แต่อาจตรวจพบเจอโดยบังเอิญ นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางส่วนอาจมีอาการแสดงที่บ่งบอกถึงความผิดปกติได้ เช่น

  • เจ็บเต้านม
  • มีแผลที่เต้านม
  • เต้านมอักเสบบวมแดง
  • มีน้ำออกมาทางหัวนม
  • หรือ มีต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้

และที่สำคัญคือ มะเร็งเต้านมสามารถที่จะลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง รวมทั้งกระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ โดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงใด ๆ มาก่อนก็ได้

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็น “มะเร็งเต้านม” ?

ต้องบอกว่า ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ทุกคน บางคนอาจมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปก็ได้ หรือที่เรียกว่า “กลุ่มเสี่ยง” ซึ่งได้แก่

  • มีพันธุกรรมผิดปกติที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม หรือ
  • ผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเพศหญิงจากภายนอก เช่น การใช้ยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมสูงกว่าบุคคลทั่วไป

ไขข้อข้องใจ อาการแบบไหนที่เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม ?

หากเรามีอาการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น

  • คลำพบก้อนที่เต้านม
  • เจ็บเต้านม
  • รูปทรงของเต้านมผิดปกติไปจากเดิมโดยไม่มีสาเหตุอื่น ๆ
  • มีแผลที่เต้านมหรือหัวนม โดยเฉพาะแผลที่รักษาแล้วไม่หาย
  • มีน้ำออกมาทางหัวนม
  • มีก้อนที่รักแร้
  • ผิวหนังของเต้านมผิดปกติไปจากเดิม เช่น
    • เป็นผื่น
    • เป็นแผล
    • เป็นรอยบุ๋ม หรือ รอยบวมแดง
    • อาจมีก้อนหรือไม่มีก้อนก็ได้

ถือว่าเป็นอาการที่พบบ่อยและมักจะสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบมาพบแพทย์


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม

การตรวจวินิจฉัยประกอบด้วยการซักประวัติเพื่อทราบอาการและการประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วย และการตรวจเต้านมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งมีการตรวจเพิ่มเติมคือการทำแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม เพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ ของเต้านม หรือทำ MRI ในกรณีที่จำเป็น โดยการตรวจแมมโมแกรม เป็นการตรวจที่มาตราฐานมานานกว่า 50 ปี โดยใช้เทคนิคการบีบเต้านมให้แบนลงเพื่อให้สามารถใช้รังสีปริมาณน้อย ๆ ได้ โดยประโยชน์ของแมมโมแกรม คือ จะสามารถเห็นหินปูนที่คลำไม่พบหรือตรวจเจอก้อนที่เต้านมได้

ส่วนการตรวจอัลตร้าซาวด์ สามารถตรวจพบก้อนเนื้อหรือถุงน้ำเล็ก ๆ ได้ สามารถจำแนกได้ว่าเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ ลักษณะเป็นอย่างไร ในบางกรณีที่จำเป็น แพทย์อาจส่งตรวจ MRI เพื่อเติม หากได้ข้อมูลไม่เพียงพอจากแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ ข้อมูลทั้งที่ได้จากการตรวจด้วยวิธีต่าง ๆ จะต้องนำมาร่วมพิจารณาแนวทางการรักษา ถ้าแพทย์ประเมินแล้วว่าจำเป็น ก็จะแนะนำให้ตรวจชิ้นเนื้อหรือผ่าตัดตามความเหมาะสม ซึ่งการที่จะบอกว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่ แพทย์จำเป็นจะต้องมีผลการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยนั้นเป็นมะเร็งเต้านมและให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป


การตรวจมะเร็งเต้านม

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จำเป็นแค่ไหน?

ในปัจจุบัน มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอับดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทำให้สามารถตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมได้ก่อนที่จะมีอาการ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ประกอบด้วยทำได้ 3 วิธี คือ

  1. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self Exam)
  2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์ (Clinical Breast Exam)และ
  3. การตรวจเต้านมด้วยดิจิตอลแมมโมแกรมร่วมกับการอัลตราซาวน์เต้านม (Digital Mammogram with Ultrasound Breast)

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป โดยตรวจเป็นประจำปีละครั้งซึ่งอาจช่วยให้ตรวจพบมะเร็งที่เต้านมได้ก่อนที่จะคลำพบก้อนหรือก่อนมีอาการผิดปกติ การตรวจเจอในระยะแรกเริ่มช่วยให้มีโอกาสหายขาดได้สูงถึง อีกทั้งปัจจุบันมี นวัตกรรมการแพทย์ที่ทันสมัย การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วย Digital Mammogram ที่มีความ ละเอียดสูงและมีความแม่นยำ ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจหารอยโรคมะเร็งเต้านม ได้แม่นยำกว่าเดิม มีความ ปลอดภัย กว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่อง Mammogram แบบเก่า

ประโยชน์ของแมมโมแกรม ช่วยให้สามารถตรวจพบรอยโรคขนาดเล็ก อาทิปริมาณหินปูน แคลเซียมที่ซ่อนอยู่ในเต้านมได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ซึ่งผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการผิดปกติเลยก็ได้ แต่สามารถตรวจเจอจากแมมโมแกรมเท่านั้น และลดโอกาสการตรวจซ้ำ ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวน์เต้านม (Ultrasound Breast) เป็นการตรวจเต้านมโดยรังสีแพทย์เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของเต้านม โดยเพิ่มเติมจากการตรวจ Digital Mammogram เพื่อวินิจฉัยแยกก้อนและถุงน้ำและยังใช้ตรวจเต้านมในกรณีที่เต้านมมีความหนาแน่นสูง เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจมากขึ้น


“การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นสิ่งสำคัญและแนะนำให้ผู้หญิงทั่วไปควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อให้สามารถตรวจเจอความผิดปกติของเต้านม อาจะช่วยให้สามารถตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ และรักษาได้ทันท่วงที”



นพ.อกนิษ ปัญญวรวงษ์

นพ.อกนิษ ปัญญวรวงษ์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยาและโรคเต้านม




สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ศูนย์เต้านม
ชั้น1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 110, 111



ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล: