การตรวจตาทั่วไปทางจักษุ

การตรวจตาทั่วไปทางจักษุ (General Eye Examination)

โดยทั่วไปการตรวจตาจะต้องตรวจให้ละเอียดทั้งลักษณะโครงสร้าง และหน้าที่การทำงานของแต่ละส่วน ควรตรวจตาทั้ง 2 ข้าง บางครั้งเราอาจพบความผิดปกติบางอย่างโดยที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ หรือผู้ป่วยไม่ทราบว่ามีอาการผิดปกติ การตรวจตาต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ควรสร้างสัมพันธ์และบรรยากาศในการตรวจให้ผู้ป่วยร่วมมือมากที่สุด เพื่อการตรวจจะได้ผลดีและไม่เสียเวลามาก ในเด็กเล็กบางครั้งจะต้องใช้ยานอนหลับจึงจะตรวจได้

การตรวจตาควรทำเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้

การวัดระดับสายตา (Visual acuity)
             การวัดระดับสายตา VA เป็นสิ่งแรกที่ต้องตรวจและจำเป็นมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยอุบัติเหตุและผู้ที่มีอาชีพที่ต้องใช้สายตาเป็นพิเศษ การวัดระดับสายตา Visual acuity หรือที่เรียกว่า VA มีความจำเป็นเท่ากับการวัด Vital sign หรือสัญญาชีพในผู้ป่วย

 

การวัดความดันตา (Auto Tension)
             ความดันตาปกติมีค่าประมาณ  <21 มม.ปรอท (mmHg) การวัดความดันตามีความสำคัญเท่ากับการวัดความดันโลหิต

 

การตรวจการมองเห็นสี (Color vision test)
             การตรวจการมองเห็นสีมีหลายวิธี วิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดคือ Ishihara psendoiso chromatic color plate จะมีภาพเป็นตัวเลขสีต่างๆ ประมาณ 20 ภาพ ถ้าสามารถอ่านตัวเลขถูกต้องทุกภาพ แสดงว่าการมองเห็นสีเป็นปกติ ถ้าอ่านผิดแสดงว่ามีความผิดปกติในการมองเห็นสี จะมีตารางบอกไว้ว่าผิดปกติระดับใด การทดสอบการเห็นสีมีความสำคัญในแง่การคัดเลือกคนเข้าทำงาน เกี่ยวข้องกับการแยกแยะสี เช่น โรงงานอุตสาหกรรมบางอย่าง นักเคมี ทหาร ตำรวจ

 

การตรวจพิเศษทางจักษุ (Special Investigation)
            การตรวจทางจักษุวิทยา นอกจากจะตรวจโดยใช้เครื่องมือพื้นฐานแล้ว บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อช่วยในการวินิจฉัย การวางแผนรักษา และบอกการพยากรณ์โรคแก่ผู้ป่วย การตรวจพิเศษทางจักษุ ได้แก่

การวัดลานสายตา (Visual Field)
            เป็นการตรวจการทำงานของจอประสาทตา เส้นประสาทตา และ Visual pathway ส่วนที่อยู่ในสมอง การวัดลานสายตาอาจช่วยบอกตำแหน่งของพยาธิสภาพ และการใช้ในการติดตามผู้ป่วยบางโรค เช่น ต้อหิน

การถ่ายภาพจอประสาทตา (Fundus Camera) 
            การถ่ายรุป Fundus เพื่อการติดตามโรค และผลการรักษา ที่ใช้บ่อยที่สุดคือการติดตามโรคต้อหินเพื่อดูความหนาของเส้นใยจอประสาทตา (N)เนื่องจากโรคนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นที่จอประสาทตา ใช้ติดตามผู้ป่วยโรคจอประสาทตา เช่น Diabetic retinopathy และโรคของ macula บางชนิด ในปัจจุบันเราสามารถถ่ายภาพ Fundus ด้วยกล้อง (Non-Mydriatric-Fundus Camara) ใช้แสงน้อยกว่า ผู้ป่วยรู้สึกสบายตากว่า และยังสามารถถ่ายภาพ 3 มิติได้ด้วย

 

เนื้อหาโดย : ศูนย์ตาโรงพยาบาลสุขุมวิท 
ปรึกษาปัญหาเรื่องตาได้ที่ 02391-0011 ต่อ 601, 602

ปรึกษาปัญหาเรื่องตาได้ที่ 02391-0011 ต่อ 601, 602