ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดขึ้นได้แม้ร่างกายจะดูแข็งแรง

ภาวะหัวใจล้มเหลว


ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) หมายถึง ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือรับเลือดกลับสู่หัวใจได้ตามปกติ ซึ่งภาวะหัวใจล้มเหลว มีอยู่ 2 ชนิด

  1. หัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว(Right-sided heart failure) โดยปกติหัวใจห้องล่างขวาทำหน้าที่รับเลือดจากร่างกายส่งไปยังปอด หากเกิดภาวะนี้จะทำให้ของเหลวในร่างกายคั่ง เกิดอาการบวมของเท้า ตับโต แน่นท้อง
  2. หัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว(Left-sided heart failure) โดยปกติหัวใจห้องล่างซ้ายทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หากเกิดภาวะนี้จะทำให้เลือดคั่งในปอด(น้ำท่วมปอด) ร่วมกับมีอาการบวมที่เท้าได้ เพราะโดยส่วนมากแล้วโรคหัวใจล้มเหลวมักจะมีผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจทั้งสองด้าน

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่พบมากคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุใหญ่ที่พบบ่อยที่สุด นอกจากนี้ โรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

ในปัจจุบันพบว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ได้เกิดแค่ในเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในกลุ่มคนที่อายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรง ก็สามารถเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน แต่ผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวโดยตรง คือ

  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย และพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน

ภาวะหัวใจล้มเหลว มีอาการอย่างไร?

ผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อาจมีอาการแรกเริ่มเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงมีอาการรุนแรง ซึ่งได้แก่

  • หายใจลำบาก – เมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกไปเลี้ยงร่างกายได้ ส่งผลให้เลือดไหลกลับไปที่ปอด จึงทำให้มีอาการหายใจถี่ หายใจลำบากเมื่อนอนราบ หรือต้องตื่นขึ้นมานั่งหายใจในตอนกลางคืนเพื่อให้อาการดีขึ้น
  • บริเวณเท้าและขาบวม กดแล้วบุ๋ม จากอาการบวมน้ำ มีภาวะคั่งน้ำและเกลือ เกิดน้ำคั่งที่อวัยวะภายใน เช่น ตับและม้ามโต มีน้ำในช่องท้อง ท้องอืด ท้องโตขึ้น
  • เวียนศีรษะ เมื่อยล้า - เกิดจากเลือดไม่สามารถสูบฉีดไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรต่าง ๆ ได้เท่าเดิม

ภาวะหัวใจล้มเหลว รักษาได้อย่างไรบ้าง?

ภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถรักษาได้โดยการ

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย เพื่อปรับให้ร่างกายสู่สมดุล
  • การใช้ยารักษา เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด ยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ
  • การเครื่องมือเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และอาการของผู้ป่วยแต่ละราย)
  • การผ่าตัดใส่เครื่องสูบฉีดหัวใจ
  • การผ่าตัดลิ้นหัวใจ การปลูกถ่ายหัวใจ

ภาวะหัวใจล้มเหลวป้องกันได้ แค่ดูแลร่างกายให้ถูกวิธี

ปัจจุบัน มีผู้ป่วยที่เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลาย ๆ คนนั้นมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ระมัดระวัง แพทย์หญิงฑิตถา อริยปรีชากุล แพทย์อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสุขุมวิท จึงมีคำแนะนำในการดูแลตนเองมาฝาก เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

  • ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี
  • ผู้ที่มีโรคประตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ควรหมั่นพบแพทย์เป็นประจำและทานยาสม่ำเสมอ
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต เช่น ออกกำลังสม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คอยชั่งน้ำหนักตัวเอง หากน้ำหนักมีการเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 กิโลกรัม ภายใน 1-2 วัน แสดงถึงภาวะคั่งน้ำและเกลือแล้ว
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเกลือและอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียม เช่น ในเครื่องปรุงรส ซอสหอยางรม ผงชูรส และอาหารปรุงรส เช่น ไส้กรอก กุนเชียง อาหารหมักดอง ปริมาณโซเดียมที่แพทย์แนะนำให้ทานต่อวัน คือ น้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่าเกลือแกงที่เราใช้ปรุ่งอาหาร ไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อ





สอบถามเพิ่มเติมที่ : ศูนย์โรคหัวใจ
ชั้น 1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 20.00 น.
โทร. เวลา 07.00 - 20.00 น. 02-391-0011 ต่อ 145,155
      เวลา 20.00 - 07.00 น. 02-391-0011 ต่อ 753,755
VAR_INCL_CK