HDL ไขมันตัวดีที่มีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจ

หัวใจ

HDL ไขมันตัวดีที่มีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจ


คลอเลสเตอรอล เป็นสารประเภทไขมันซึ่งเป็นองค์ประกอบของเซลล์ในร่างกายใช้คอลเลสเตอรอลในการสร้างเซลล์ใหม่ ป้องกันเส้นประสาทและผลิตฮอร์โมน คลอเลสเตอรอลในร่างกายมาจาก 2 แหล่ง คือ สร้างจากตับ และได้จากอาหารที่รับประทาน เช่น นมไข่และเนื้อสัตว์ หากระดับคลอเลสเตอรอลมีมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ

ไขมัน

ไขมันสูงส่งผลต่อโรคหัวใจได้อย่างไร ?

เมื่อระดับไขมันสูงมากในเลือด จะเกิดการสะสมไขมันที่บริเวณผนังหลอดเลือด เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือถูกปิดกั้น เมื่อการขนส่งเลือดและออกซิเจนไม่เพียงพอที่จะเข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ จึงส่งผลให้เกิดการเจ็บแน่นหน้าอกขึ้น


โดยไขมันหลัก ๆ ในร่างกายมี 2 ชนิด

  1. คอเลสเตอรอล LDL คือ ไขมันที่ไม่ดี เพิ่มโอกาสการเกิดการสะสมของไขมันบนผนังหลอดเลือด เกิดหลอดเลือดแข็งหรือตีบ ในขณะที่ HDL เป็นไขมันชนิดดีจะช่วยในการลดการเกาะตัวของไขมันบนหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ
  2. ไตรกลีเซอไรด์ เป็นอีกไขมันในกระแสเลือด มีการวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับสูงของไตรกลีเซอไรด์อาจเชื่อมโยงกับโรคหัวใจ

ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงนั้นอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ดังนั้น การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับคอเลสเตอรอล จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ถ้าพบว่าระดับคอเลสเตอรอลสูงเกินไป การลดระดับคอเรสเตอรอลจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและลดโอกาสของโรคหัวใจวาย


ระดับคลอเลสเตอรอล (Total Cholesterol) ที่เหมาะสม คือน้อยกว่า 200

  1. ระดับ LDL ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อระบบหลอดเลือดโดยเฉพาะ LDL มากกว่า 190 mg/dL ควรได้รับการรักษาในทุกกรณีในขณะที่ LDL 70-190 mg/dL จะมีเกณฑ์ในการเริ่มใช้ยาลดระดับไขมันต่างกันไปขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงหรือโลกร่วมของผู้ป่วย
  2. ระดับ HDL สูงกว่า 40 HDL ยิ่งสูงจะยิ่งดีต่อร่างกาย ในขณะที่ไตรกลีเซอไรด์ค่าปกติควรน้อยกว่า 150 mg/dL

ไขมัน

ภาวะคอเลสเตอรอลสูงเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

  1. การทานอาหาร (Diet) จำพวกไขมันในปริมาณสูงโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์

  2. น้ำหนัก (Weight) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานป็นอีกไขมันในกระแสเลือด มีการวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับสูงของไตรกลีเซอไรด์อาจเชื่อมโยงกับโรคหัวใจ

  3. อายุ และเพศ (Age and Gender) เมื่ออายุเพิ่มขึ้นระดับไขมันจะเพิ่ม ผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำจะมีระดับไขมันรวมน้อยกว่าเพศชายในวัยเดียวกัน

  4. พันธุกรรม (Heredity)

  5. ปัญหาสุขภาพ (Medical Conditions) โรคบางโรคมีส่วนให้ไขมันสูงขึ้น เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ โรคตับ และโรคไต

  6. ยาบางชนิด (Medication) ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะและโปรเจสเตอรอล

ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อช่วยลดระดับไขมันไม่ดี

  1. รับประทานอาหารให้เหมาะสม ควบคุมอาหารประเภทไขมันอิ่มตัวหรือคอเลสเตอรอล เช่น เครื่องในสัตว์เนื้อติดมันหอยนางรม

  2. เลือกวิธีปรุงอาหารโดยเรื่องการทอด เช่น นึ่ง ต้ม แทน

  3. <หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  4. ออกกำลังกายวิ่งว่ายน้ำปั่นจักรยานวันละอย่างน้อย 30 นาที 3 ถึง 5 วันต่อสัปดาห์

  5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

  6. งดสูบบุหรี่

พญ. วันสิริ ธรรมโกมุท

พญ. วันสิริ ธรรมโกมุท
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด




สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์โรคหัวใจ
ชั้น 6 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 665, 666


ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

   
VAR_INCL_CK