โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบคืออะไร ?

หัวใจ

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบคืออะไร ?


ภาวะหลอดเลือดตีบแคบลง หรือมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ เช่น แขน ขา


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าว

  • อายุที่มากขึ้น
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • เบาหวาน
  • ไขมันในเลือดสูง
  • การสูบบุหรี่
  • โรคอ้วน

อาการแสดงของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ

มากกว่า 50% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ที่ตรวจพบด้วยเครื่องตรวจสมรรถภาพหลอดเลือดแดง ABI (Ankle-brachial index) ไม่แสดงอาการใดๆ ต่อเมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นไม่พอผู้ป่วยจะมีอาการ

  • อ่อนแรงปวดเท้า ปวดน่อง โดยเฉพาะเวลาที่เดินหรือออกกำลังกาย
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • เท้ามีอาการชา ตะคริว หรือเจ็บขา เวลาเดินหรือขึ้นบันได
  • ผิวมีสีซีด
  • เท้าหนึ่งข้างมีอุณหภูมิเย็นกว่าเท้าข้างหนึ่ง

โดยเฉพาะเมื่อเวลาเดิน และจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อเดินได้ระยะทางใกล้เคียงกัน อาการจะเป็นๆ หายๆ ทางการแพทย์เรียก Intermittent Claudication เมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น จะเกิดอาการปวดแม้ขณะพัก


หัวใจ

การตรวจวัดหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (ABI) มีประโยชน์อย่างไร ?

การตรวจวัดหลอดเลือดส่วนปลายที่ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจเช็คว่าระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายคุณไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายคุณดีหรือไม่ การตรวจเช็คเมื่อคุณมีภาวะอาการแสดงของภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่ระบบการไหลเวียนภานในร่างกายไหลช้าไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แขนขาจึงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ


หากคุณมีอาการหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ คุณมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ที่อาจเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attack)


การตรวจวัดหลอดเลือดแดงส่วยปลาย ( ABI) จะทำการวัดเปรียบเทียบความดันโลหิตตัวบนที่ข้อเท้า ร่วมกับความดันโลหิตตัวบนที่แขน โดยเทียบค่าความดันโลหิตตัวบนของแขนและขาแต่ละข้าง โดยค่าความดันของหลอดเลือดที่ขาควรจะเท่ากับ หรือมากกว่าค่าความดันของหลอดเลือดที่แขน หากมีค่าความดันที่น้อยกว่า คุณอาจมีปัญหาของอาการหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบของข้างนั้น ซึ่งหากแพทย์ต้องการตรวจเช็ครายละเอียดของโรคให้มากขึ้น แพทย์จะสั่งตรวจด้วยเครื่องมือทางรังสีวินิจฉัย เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจวัดหลอดเลือดแดงส่วนปลายนอกจากจะช่วยรักษาโรคดังกล่าวให้เลือดสามารถไหลเวียนได้ปกติแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย โดยการตรวจดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 10 – 15 นาที สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย



พญ. ฑิตถา อริยปรีชากุล

พญ. ฑิตถา อริยปรีชากุล
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด




สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์โรคหัวใจ
ชั้น 6 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 665, 666


ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

   
VAR_INCL_CK