สำรวจว่าคุณเป็นโรค ”ข้อเข่าเสื่อม” จนต้องเปลี่ยนเข่าหรือไม่

ข้อเข่าเสื่อม ซ่อมเข่าได้ ไม่ต้องเปลี่ยนเข่า

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากการที่กระดูกอ่อนของเข่าสึกกร่อนและถูกทำลายลง จากการใช้งานมาเป็นเวลานานหรืออาการเสื่อมตามสภาพ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะเพศหญิง แต่ในปัจจุบันด้วยรูปแบบการใช้ชีวิต ที่หนักหน่วง เช่น การเล่นกีฬาหนักๆหรือผิดท่า การนั่งกับพื้นบ่อยๆ หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายขึ้น

สังเกตอาการเข่าเสื่อม

หากคุณมีอาการเหล่านี้มากกว่า 3 ข้อขึ้นไป คุณอาจมีความเสี่ยงต่อโรคข้อเข่าเสื่อม หากปล่อยไว้นานจนถึงระยะรุนแรง อาจเป็นหนักถึงขั้นต้องเปลี่ยนเข่า

  1. เพศชาย หญิง อายุ 40 ปีขึ้นไป
  2. มีน้ำหนักตัวมาก (ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25)
  3. มีกิจวัตรการทำงาน ที่ต้องเดินอยู่ตลอดเวลา
  4. มีอาการเข่ายืด ฝืด หรืองอ ลำบาก
  5. มีเสียงดังก๊อบ แกร๊บ ที่เข่าขณะเคลื่อนไหว
  6. มีอาการปวดที่ข้อเข่า เวลาเดิน ขึ้น-ลงบันได หรือขณะนั่งงอเข่ากับพื้น
  7. มีอาการปวด เจ็บแปล๊บ ที่ข้อเข่าเวลาเดิน
  8. มีอาการปวดข้อเข่าเวลานอน
  9. มีปัญหาปวดข้อเข่าเวลาใส่ถุงเท้า รองเท้า หรือขณะลุกนั่ง
  10. มีอาการปวดบวมอักเสบที่ข้อเข่า
  11. ไม่สามารถเดินได้ปกติ ต้องเดินโยกตัว
  12. ขาโก่งงอผิดรูป เหยียดเข่าไม่สุด งอเข่าไม่ได้มาก หรือเข่าโยก เข่าหลวม

โรคข้อเข่าเสื่อม

การรักษาอาการ ข้อเข่าเสื่อม

การรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม มีหลายวิธี ทั้งทานยาแก้อักเสบ การฉีดยาเข้าข้อเข่า การทำกายภาพบำบัด โดยมักจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์แต่ทั้งหมดก็ไม่ได้ผลดีร้อยเปอร์เซนต์ ซ้ำร้ายในบางรายอาจมีอาการแพ้ยา หรือมีผลข้างเคียงของยา เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีผื่นคัน หรือหากใครที่กินยาบ่อยๆ อาจเสี่ยงต่อการป็นโรคไตได้ ด้วยพัฒนาการทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นในปัจจุบัน ทำให้พบวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแบบใหม่ ที่จะมาใช้แทนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแบบเดิมๆ (TKA) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมกันมาก เพราะสามารถตอบโจทย์ได้ตรงจุดก็คือการซ่อมเข่า หรือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้ผลดีเพราะ ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อขณะผ่าตัดน้อย เสียเลือดน้อย ลดภาวะแทรกซ้อน ฟื้นตัวได้เร็ว เพราะหลังผ่าตัด นอกจากที่ผู้ป่วยจะไม่กลับมามีอาการปวดเข่าแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจกรรมที่เคยทำได้อีกต่อไป

แต่ทั้งนี้ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแต่ละวิธีนั้น ก็เหมาะสมกับอาการของแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ประเมินอาการของคนไข้ว่ามีอาการข้อเข่าเสื่อมในระดับไหน แล้วจึงเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะกับและคนไข้นั้น ๆ ซึ่งในปัจจุบัน วิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแบบใหม่ๆที่เริ่มเป็นที่นิยมและได้ผลการรักษาดีนั้นมี 4 วิธี คือ

1. การรักษาด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น - PRP

การรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น เป็นเทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้นำมาใช้ในการรักษาอาการปวดข้อ โดยช่วยฟื้นฟูเส้นเอ็น ข้อและกระดูกอ่อน เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเข้ากับกระบวนการเยียวยาตามธรรมชาติของร่างกาย การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมเพียงเล็กน้อย นอกจากการรักษาเข่าแล้ว ยังสามารถรักษาอาการอื่น ๆ ที่ได้อีกด้วยเช่น

  • โรคข้อเข่าเสื่อม
  • ไขข้ออักเสบ
  • เอ็นข้อเข่าอักเสบ
  • เอ็นข้อไหล่ฉีก
  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ
  • เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
  • เอ็นอักเสบที่ข้อศอกด้านนอก (Tennis Elbow)
  • เอ็นอักเสบที่ข้อศอกด้านใน (Golfer Elbow)
  • การบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ

2. การส่องกล้องข้อเข่า - Knee Arthoplastry

การส่องกล้องข้อเข่า (Knee Arthoplastry) คือการผ่าตัดภายในข้อ โดยใช้กล้องขนาดเล็กส่องเข้าไปในข้อ เป็นวิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีการเสื่อมของข้อเข่าไม่มากร่วมกับมีการฉีดขาดของหมอนรองเข่า (meniscus) หรือ กระดูกอ่อนหลวม (loose bodies) หรือมีแผ่นเนื้อ (flap) ที่ทำให้ข้อเข่าเหยียดหรืองอไม่ได้สุด

3. การซ่อมเข่า หรือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วน - UKA

การซ่อมเข่า หรือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วน (Unicompartment Knee Arthroplasty - UKA) คือ การผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าเฉพาะส่วนที่เสื่อมออก โดยเก็บรักษาผิวข้อเข่ากับหมอนรองเข่าส่วนที่ยังดีรวมถึงเส้นเอ็นเอาไว้ แล้วทดแทนด้วยผิวข้อเทียมเพียงบางส่วน ทำให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีนี้สามารถใช้ข้อเข่าได้ดีใกล้เคียงธรรมชาติ เช่น นั่งกับพื้น นั่งยอง ๆ พับเพียบ ขัดสมาธิ รวมทั้งวิ่ง หรือ ออก กำลังกายได้เหมือนเดิม

4. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยหุ่นยนต์ - Robotic assisted TKA

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยหุ่นยนต์ (Robotic assisted) คือ การนำหุ่นยนต์มาช่วยในการสร้างภาพ ของข้อเข่าที่จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม โดยการป้อนข้อมูลให้แก่หุ่นยนต์ในขณะทำการผ่าตัด ให้ได้ภาพ digital model ที่มีลักษณะเฉพาะเหมือนข้อเข่า ของคนไข้ในแต่ละราย ช่วยให้แพทย์ได้ทราบขนาดและตำแหน่งที่จะวางผิวข้อเข่าเทียมได้ถูกต้อง ลดการเกิดข้อผิดพลาดหรือภาวะ แทรกซ้อนจากการผ่าตัด ทำให้สามารถใช้งานข้อเข่าเทียม ได้ดีใกล้เคียงเข่าธรรมชาติ และช่วยยืดอายุการใช้งาน ข้อเข่าเทียมได้นานขึ้น
ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรค "ข้อเข่าเสื่อม" ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย แต่อย่างไรก็ตาม คุณผู้อ่านอย่าลืมที่จะรักษาข้อเข่าด้วยการรักษาน้ำหนักตัวให้พอดี ออกกำลังกายที่เหมาะสม และ กินอาหารที่มีประโยชน์นะคะ
#ข้อเข่าเสื่อม #ซ่อมเข่า #การรักษาข้อเข่าเสื่อม #ส่องกล้องข้อเข่า


คลิกที่นี่เพื่อทำแบบประเมินระดับความรุนแรงของ โรคข้อเข่าเสื่อม
( Oxford Knee Score )




สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
ชั้น 1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 20.00 น.
โทร. 02-391-0011 ต่อ 110, 111