เทคโนโลยีเครื่องนวดกระตุ้นหัวใจ EECP ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ

EST

“โรงพยาบาลสุขุมวิท” นำเข้าเทคโนโลยีก้าวหน้าทางการแพทย์มาใช้ประโยชน์ในการฟื้นฟูดูแลทั้ง “ผู้ป่วย” และ “ผู้คนทั่วไป” ให้มีโอกาสเพิ่มสมรรถนะทางกายและใจด้วยวิธีง่าย ๆ โดยใช้ “เครื่องนวดกระตุ้นหัวใจ” มาช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายให้สูงขึ้นมากสุดเท่าที่สมรรถภาพร่างกายของแต่ละ “กลุ่มเป้าหมาย” จะเอื้ออำนวย โดยสามารถฟื้นฟูในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ป่วยเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และนักกีฬา

ซึ่งหากเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตันโดยที่ร่างกายของผู้ป่วยเองยังไม่พร้อมที่จะเข้ารับการผ่าตัด หรือเข้ารับการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ จึงจำเป็นที่แพทย์จะต้องหาวิธีเพิ่มสมรรถภาพทางกายของผู้ป่วยให้ดีขึ้นถึงขั้นแข็งแรงพอที่จะกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติจนกว่าร่างกายจะพร้อมสำหรับเข้ารับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็น.....การฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ...หรือ ผ่าตัดทำ “บาย-พาส” ก็สามารถพึ่งพาอาศัย “เครื่องนวดกระตุ้นหัวใจ (EECP)” ได้อีกทางหนึ่ง หรือกลุ่มที่ได้รับการรักษาแล้ว แต่ยังมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่ หรือรักษาเรียบร้อยแล้ว แต่อยากเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้นก็ล้วนส่งผลให้เกิดการฟื้นฟูสมรรถภาพกล้ามเนื้อหัวใจ และร่างกายเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่มีการคิดค้นออกมาใช้เหมือนในปัจจุบัน โดย “นพ.นิวิธ กาลรา...แพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ” ประจำ “โรงพยาบาลสุขุมวิท” อธิบายว่า “...เครื่อง EECP หรือเครื่อง Enhanced External Counterpulsation เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบเพื่อการบีบรัดหลอดเลือดบริเวณข้อเท้าขึ้นมาถึงบริเวณต้นขา โดยเครื่องนี้จะเชื่อมโยงกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจของคนไข้ ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจมีการบีบตัว เครื่องนี้ก็จะทำการบีบรัดสัมพันธ์กับจังหวะนั้นเพื่อบีบไล่เลือดย้อนเข้าสู่หลอดเลือดหลักของหัวใจร่วมด้วย...เมื่อเครื่องนี้ทำงานสัมพันธ์กับคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะทำให้เลือดที่ถูกบีบย้อนกลับไปมีส่วนช่วยสร้างเสริมหลอดเลือดใหม่ ๆ เรียกว่า Angiogenesis มาช่วยในบริเวณที่มีหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ทั้งยังจะมีการเพิ่มหลอดเลือดเส้นใหม่เข้าไปด้วย เพื่อช่วยให้เลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น...”

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เครื่อง EECP

“คุณหมอนิวิธ” ได้สรุปถึงผลการศึกษาที่พบก็คือ...หลังจากผู้ป่วยได้ผ่านการใช้เครื่อง EECP เป็นจำนวน 35 ครั้งแล้วจะเห็นผลว่ามีส่วนช่วยลดอัตราการเจ็บแน่นหน้าอกและอาการเหนื่อยก็น้อยลง โดยจะเริ่มเห็นผลความแตกต่างได้หลังจากผ่านการใช้เครื่องตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไปแม้ว่าในช่วง 5 ครั้งแรกนั้นผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบายเนื้อ ไม่สบายตัวระหว่างที่ทำ ซึ่งเราก็จะปรับเรื่องของความแรงในการบีบและความถี่ในการบีบ จนในที่สุดก็ผ่านไปได้โดยที่ผู้ป่วยจะรู้สึกดีหลังจากทำ และพอเห็นผลว่าช่วยลดการทานยาให้น้อยลงได้ หรือมีอาการน้อยลง ผู้ป่วยก็จะอยากทำเองมากขึ้น ยิ่งหากทำไปจนครบ 35 ครั้งแล้ว ผู้ป่วยหลายรายสามารถลดการทานยาได้ค่อนข้างมาก รวมทั้งลดโอกาสการเข้าโรงพยาบาลฉุกเฉิน ลดโอกาสการใช้ยาฉุกเฉิน แล้วก็ลดโอกาสการแน่นหน้าอกที่ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่เป็นปกติได้ค่อนข้างมาก... ขณะที่ผู้ป่วยอีกกลุ่มที่มีปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น ส่วนใหญ่หลังจากได้ทำผ่านไป 5 ครั้งก็เริ่มเห็นผลได้ชัดเจนมากขึ้น จนส่งผลให้บางรายอยากมาทำเป็นประจำต่อเนื่องไปเลย สำหรับในกลุ่มคนไข้ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัวแต่เป็นกลุ่มนักกีฬาก็สามารถมาใช้เครื่อง EECP ได้ เพราะจะได้ประโยชน์อีกอย่างคือ...ความสามารถในการออกกำลังกาย กับ ความสามารถทางการกีฬาจะเพิ่มขึ้น โดยที่นักกีฬาบางกลุ่มไม่ว่าจะเป็นนักฟุตบอล หรือนักวิ่ง จะสามารถทำเวลาได้ดีขึ้น วิ่งได้ระยะทางไกลขึ้นกว่าเดิม

เป็นโรคหัวใจแล้วไม่ควรออกกำลังกายหรือทำกิจกรรม?

“นพ.วรวัฒน์ เอียวสินพานิช...แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์พื้นฟู” ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสุขุมวิท ได้กล่าวถึงกรณีของผู้ป่วยที่เกิดปัญหาโรคหัวใจที่ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการรักษาโดยการสวนหลอดเลือดหัวใจ หรือการผ่าตัดไปแล้วว่า “...โดยปกติแล้วทั้งตัวคนไข้เองและญาติมักจะเข้าใจว่าเป็นโรคหัวใจแล้วไม่ควรต้องทำอะไรนะครับ ควรต้องอยู่เฉย ๆ ไม่ควรจะออกกำลังกายหรือว่าทำกิจกรรมที่หนักจนเกินไป ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ เพราะเหตุว่าการทำเวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจจะเป็นการเติมเต็มคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้กลับมามีความสามารถในการทำกิจกรรม ทำงานอดิเรก หรือออกกำลังกายที่ตัวเองรักได้ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อลดปัจจัยการเสี่ยงของการเกิดเป็นโรคหัวใจต่อไป...”

“เครื่องนวดกระตุ้นหัวใจ” หรือ EECP เครื่องนี้จะเป่าลมและบีบรัดแขนกับขาผู้ป่วยขณะที่หัวใจคลายตัว ซึ่งจะส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงที่บริเวณหลอดเลือดขนาดกลางได้ดีขึ้น โดยอวัยวะที่มีหลอดเลือดขนาดกลาง ได้แก่ หัวใจ สมอง มีโอกาสได้รับการฟื้นฟูกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดให้มีสมรรถภาพที่ดีขึ้น...โดยในกลุ่มของคนไข้ที่เป็น Stroke จากภาวะสมองขาดเลือดก็สามารถที่จะใช้เครื่องมือนี้ร่วมรักษาได้เช่นกัน ซึ่งคุณหมอกล่าวต่อเลยว่า “ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.สุขุมวิท” มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ในเรื่องของ ฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งร่างกาย และจิตใจ ทั้งเทคโนโลยีทันสมัย การปรับแต่งสถานที่ให้เอื้อต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยมีสภาพจิตใจดีขึ้น โดยเรียกในภาษาอังกฤษว่า ‘Healing environment’...อีกทั้งยังได้รวมถึงการจัดบุคลากรที่มีความพร้อมทั้งแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด แล้วก็ทีมงานอื่น ๆ มาให้การดูแลผู้ป่วยที่มารับการฟื้นฟูให้มีสมรรถภาพทางกายสูงที่สุด สามารถที่จะกลับไปใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงทำงานอดิเรก หรือออกกำลังกายที่ตัวเองรักได้ดังเดิมก่อนเกิดอาการป่วยไข้โดยมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการแพทย์ทันสมัย เหมาะแก่คนไข้แต่ละอาการ แต่ละภาวะของผู้ป่วยนั้นๆ โดยมุ่งให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงกิจกรรมที่ตัวเองรักได้ใกล้เคียงกับปกติได้มากที่สุดนั่นเอง


นพ. นิวิธ กาลรา

นพ. นิวิธ กาลรา
แพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ และหลอดเลือด



นพ.วรวัฒน์ เอียวสินพานิช

นพ.วรวัฒน์ เอียวสินพานิช
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ศูนย์โรคหัวใจ
ชั้น6 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 665, 666

ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

facebook instagram line youtube