“โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ” ภาวะที่ไม่ควรมองข้าม

โรคหลอดเลือดหัวใจ

คุณหมอผู้ชำนาญการด้านอายุกรรมหัวใจและหลอดเลือด “นพ.คณินทร์ จันทราประภาเวช” จะมาถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับ “โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ” ซึ่งก็เป็นอีกภาวะอาการที่เป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้ไม่ว่าจะเกิดการเต้นช้า หรือเต้นเร็วก็ตาม โดยคุณหมออธิบายว่า
“... โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากการที่เนื้อเยื่อของหัวใจผิดปกติเป็นผลให้มีการปล่อยกระแสไฟฟ้าเกิน หรือ ไฟฟ้าลัดวงจร หรือที่ปล่อยไฟฟ้าหัวใจปกติทำงานผิดปกติไปไม่ยอมปล่อยกระแสไฟฟ้า ซึ่งผลที่ตามมาคือทำให้ผู้ป่วยมีอาการใจสั่น หน้ามืด เป็นลม หมดสติ โดยบางคนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ บางครั้งอาจมีการเตือนเพียงเล็กน้อย ทำให้เราประมาทไม่ได้ การรักษาจึงต้องแบ่งตามกลุ่มโรคว่าเป็นกลุ่มหัวใจเต้นเร็วกับกลุ่มหัวใจเต้นช้า ถ้าเป็นกลุ่มหัวใจเต้นช้าการรักษาด้วยยาแทบจะไม่ได้ผล ส่วนใหญ่จึงใช้การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ ฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจใต้ผิวหนังแล้วสอดใส่สายไฟผ่านทางหลอดเลือดดำไปที่บริเวณหัวใจ... กับวิธีที่ 2 เป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ คือการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจผ่านทางขาหนีบเพื่อเอาเครื่องไปวางไว้ที่หัวใจโดยตรง โดยไม่ต้องใช้สายไฟเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ช่วยให้ให้เครื่องนี้มีขนาดเล็กเท่าแคปซูลยา หนักไม่ถึง 2 กรัม...ส่วนวิธีรักษาหัวใจเต้นเร็ว จะมีทานยาซึ่งมีฤทธิ์ไปกดเนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยไฟเกิน ซึ่งหลังจากได้ยาไปแล้วผู้ป่วยบางรายอาจทานกันต่อไประยะยาว โดยบางรายที่ทานยาไปแล้วก็สามารถรักษาความผิดปกติเหล่านี้ได้ หรืออาจไม่ชอบการทานยาระยะยาว จึงมีการใช้เทคโนโลยี การจี้ไฟฟ้าหัวใจโดยใส่สายผ่านทางหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันก็มี 2 แบบ ๆ แรกคือแบบมาตรฐานใช้การปล่อยคลื่นไฟฟ้า...คลื่นความถี่วิทยุในการทำลายเนื้อเยื่อ...กับแบบที่ 2 คือการใช้ความเย็นในการทำลาย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่และช่วยเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น แต่ช่วยลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ และช่วยเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น”



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์โรคหัวใจ
ชั้น 6 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 665, 666


ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล: