ผู้สูงวัยดูแลอย่างไรให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง

กระดูกพรุน

ผู้สูงวัยดูแลอย่างไรให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง

สุขภาพคือสิ่งสำคัญที่ต้องดูแลเอาใจใส่ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพหัวใจ เพราะเมื่อสูงวัยมากขึ้น ความเสื่อมต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคก็มากขึ้น ผู้สูงอายุสามารถเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ เช่น เป็น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดปกติ หรือโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เป็นต้น หากรู้และตรวจสุขภาพเชิงป้องกันสม่ำเสมอก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆได้


Q:ควรปฎิบัติตัวอย่างไรในการดูแลสุขภาพหัวใจ?

A: อันดับแรกต้องเริ่มต้นควบคุมอาหารทานให้พอเหมาะและพอดี โดยเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ งดสูบบุหรี่ หมั่นออกกำลังกาย และที่สำคัญต้องเน้นที่จะไปตรวจสุขภาพทุกปี หรือพบแพทย์ปีละครั้งเพื่อตรวจสุขภาพร่างกาย

Q.ข้อควรระวังในการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ?

A:ควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ5หมู่ แต่ล่ะหมู่ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป บางท่านอาจต้องดูผลตรวจสุขภาพเพื่อเป็นแนวทางการปรับอาหาร เช่น ผู้เป็นเบาหวานต้องคุมน้ำตาล คุมแป้ง ผู้มีไขมันสูงต้องคุมปริมาณการรับประทานอาหารที่มีไขมัน หรือคอเรสเตอรอลสูงๆ เป็นต้นผู้สูงอายุรับประทานไข่แดงได้ไหม? ปัจจุบันพบว่าปริมาณการทานไข่แดงไม่ได้แปลผันโดยตรงกับระดับคอเรสเตอรอลสูในเลือด ยกเว้น การรับประทานไข่แดงไม่ใช่ข้อห้ามสำหรับผู้สูงอายุอย่างไรก็ตามถ้าเป็นผู้มีโรคประจำตัว แนะนำให้เจาะเลือดเป็นระยะเพื่อปรับการทานอาหารให้เหมาะสม

Q.ผู้สูงอายุควรตรวจสุขภาพอย่างไรบ้าง?

A: 1.ควรตรวจเช็คสุขภาพอย่างน้อยปีล่ะ 1 ครั้ง 2.การเจาะเลือดอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง เพื่อตรวจเช็คเลือดพื้นฐานของระดับน้ำตาล ไขมัน ค่าการทำงานของไต เป็นต้น 3.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยติดคลื่นไฟฟ้า ปีละ1ครั้ง ซึ่งอายุ (30+) ก็สามารถมาตรวจได้แล้ว การตรวจสุขภาพหัวใจด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน (EST) การตรวจอัลตราซาวด์หัวใจ ซึ่งดูสภาพห้องหัวใจ ลิ้นหัวใจผิดปกติหรือไม่ การตรวจวัดระดับแคลเซียม หินปูนในเส้นเลือดหัวใจ โดยการตรวจ CT Calcium Scoring เพื่อตรวจประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หากผลการตรวจมีค่าที่ออกมาสูงก็อาจบ่งชี้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจที่สูงขึ้น ทำให้สามารถป้องกัน ปรับเปลี่ยนรูปแบบดำเนินชีวิต หรือรักษาได้ทันการ พร้อมลดการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) ที่อาจเกิดขึ้นหากมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและไม่ทราบหรือไม่ได้รับการรักษา การตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการตรวจ CT Calcium Scoring เป็นวิธีที่มีความแม่นยำ สะดวก ปลอดภัย โดยผู้สูงอายุไม่ต้องฉีดสารทึบแสง ไม่ต้องออกแรง ได้รับปริมาณรังสีน้อย และทราบผลการตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจที่แม่นยำ

Q:ควรออกกำลังกายอย่างไร?

A: ปัจจุบันแนะนำคนปกติ สามารถออกกำลังกายอย่างหนัก 75 นาที/สัปดาห์ หรือ ออกกำลังกายแบบปานกลาง 30นาที/วัน 5วัน/สัปดาห์ แต่ถ้าผู้สูงอายุออกกำลังกายไม่ไหว ไม่แนะนำให้อยู่เฉยๆ ให้หากิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวสามารถออกไปเดินเล่นได้บ้างเท่าที่ทำได้ เช่น เดิน ทำสวน รดน้ำต้นไม้ ทำงานบ้านเบาๆเป็นต้น

Q: อาการอย่างไรที่ควรพบแพทย์เกี่ยวกับโรคหัวใจ?

A:โรคหัวใจมีหลายโรค แต่ส่วนมากที่พบก็จะมีอาการ เจ็บแน่นหน้าอก หัวใจบีบเค้น เหนื่อยง่าย เหนื่อยผิดปกติจากเดิม เช่น ออกแรงทำกิจกรรมเดิมที่เคยทำได้ลดลง บางคนอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ อาจมีอาการร่วมกับร้าวไปที่แขน คอ แยกไม่ออกว่าเจ็บลิ้นปี มาจากภาวะกรดไหลย้อนทางโรคระบบอาหารหรือไม่ อาการเหล่านี้อาจจะเป็นอาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ควรรีบพบแพทย์ หรือบางในกรณีหัวใจมักเต้นผิดจังหวะ เต้นเร็ว เต้นพลิ้ว หรือเป็นลมหมดสติบ่อยครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ ก็ควรรีบพบแพทย์เช่นกัน

Q:ผู้สูงอายุที่มาหาหมอ ส่วนใหญ่เป็นโรคอะไร

A: โดยปกติ โรคที่คนสูงวัยพบได้มาก คือโรคหลอดเลือดหัวใจ อาการที่มา เหนื่อยแน่นหน้าอก โดยมีปัจจัยเสี่ยงมาจาก ความดันสูง เบาหวาน จากการรับประทานอาหารไขมันสูง น้ำตาลสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น

พญ. วันสิริ ธรรมโกมุท

พญ. วันสิริ ธรรมโกมุท
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด




สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์โรคหัวใจ
ชั้น 6 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 665, 666


ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

   
VAR_INCL_CK