การป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้หญิง

กระดูกพรุน

เพราะโรคกระดูกพรุน ไม่ใช่เรื่องที่เราควรมองข้าม จากสถิติพบว่าผู้หญิงสามารถเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชาย โดยคิดเป็นอัตราส่วน การพบโรคกระดูกพรุนในผู้หญิง 5 คนต่อผู้ชาย 1 คน และช่วงอายุที่พบได้มากที่สุดคือช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป

โรคนี้เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต อีกทั้งยังทำอาจทำให้กระดูกหักจากอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย เราลองมาดูกันดีกว่าว่าปัจจัยและการป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงมีอะไรบ้าง

ปัจจัยของการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้หญิง

  • ฮอร์โมน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักโดยเฉพาะช่วงหมดประจำเดือน หรือเฉลี่ยอายุ 50 ปีขึ้นไป มวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว คิดเป็น 3 - 5% ต่อปี
  • การตัดรังไข่ จึงส่งผลเป็นอย่างมากเนื่องจาก ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้ร่างกายสูญเสีย แคลเซียมจากกระดูก ประมาณร้อยละ 1 ต่อปี ทำให้ เกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหักง่าย
  • เชื้อชาติ ชาวต่างชาติที่มีผิวขาวและคนเอเชียมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้สูง
  • ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน
  • ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย หรือขยับร่างกายได้น้อย เช่น ผู้ป่วยติดเตียง อุบัติเหตุ-คนที่ต้องใส่เฝือก
  • การสูบบุหรี่ โดยจะทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึ่มแคลเซียมน้อยลง
  • การดื่มชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม เพราะในเครื่องดื่มดังกล่าวมีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ โดยตัวคาเฟอีนจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย และเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับภาวะกระดูกพรุน
  • การใช้สเตียรอยด์

การป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้หญิง

ช่วงที่ร่างกายของเราจะมีความหนาแน่นของมวลกระดูกมากที่สุด คือช่วงอายุ 25-30 ปี เพราะเป็นช่วงที่ ร่างกายจะสามารถสะสมมวลกระดูกได้ดี ดังนั้นการเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนที่มวลของกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด โดยมีวิธีการดังนี้

  • รับประทานแคลเซียม ซึ่งแคลเซียมที่พบได้ตามธรรมชาติ เช่น นม ปลาที่เราสามารถรับประทานกระดูกได้
  • การออกกำลังกาย เป็นการกระตุ้นให้กระดูกหนาขึ้นได้ โดยเฉพาะออกกำลังกายที่มีน้ำหนักกดลงบนกระดูก เช่น การวิ่ง การกระโดด *ทั้งนี้การเลือกวิธีออกกำลังกายควรเลือกที่เหมาะกับตนเองและไม่เป็นการทำให้เกิดอาการบาดเจ็บด้วย
  • การตรวจมวลกระดูก เพื่อหาแนวทางในการป้องกันโรคกระดูกพรุน
กระดูกพรุน

การรักษาโรคกระดูกพรุนต้องทำอย่างไรบ้าง

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ทำให้ร่างกายสูญเสียมวลกระดูก
  • รับประทานยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูก
  • รับประทานยาที่ยับยั้งการสลายตัวของมวลกระดูก

**โดยวิธีการดังกล่าวแพทย์จะอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ที่ทำการรักษา

การตรวจวัดมวลกระดูกดีอย่างไร

1.เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองโรค

  • ผู้ชาย อายุ 70 ขึ้นไป
  • ผู้หญิง อายุ 50 ขึ้นไป
  • ผู้หญิง ที่ทำการผ่าตัดรังไข่ออก

2.เป็นการตรวจเพื่อติดตามผลหลังจากทำการรักษา

คุณผู้หญิงทุกท่านที่รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมดูแลรักษาตัวเองด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และ อย่าลืมมาตรวจมวลกระดูกกันด้วยนะคะ



นพ.ชัยสิทธิ์ ศุภประการ
นพ.ชัยสิทธิ์ ศุภประการ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
ชั้น1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 110, 111



ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

VAR_INCL_CK