ผู้หญิงเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากแค่ไหน

โรคหลอดเลือดหัวใจ

ผู้หญิงเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากแค่ไหน

ผู้หญิงวัยทำงานอายุ 40 ปี ขึ้นไป และผู้หญิงที่หมดประจำเดือนมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้หญิงวัย อื่น โดยมีสาเหตุมาจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิงที่ช่วยควบคุมปริมาณไขมันให้อยู่ในระดับที่พอดีทำให้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น

โรคหลอดเลือดหัวใจ คือ

โรคที่เกิดจากการตีบของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากมีไขมันและหินปูนไปสะสมอยู่ในผนัง หลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบ เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาจทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้

โรคหลอดเลือดหัวใจ

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ

เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลาง ร้าวไปแขน กราม ไหล่ เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออกตาม ตัว นอนราบไม่ได้ ขาหรือเท้าบวม

หญิงลักษณะใดที่เข้าข่ายเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ

ผู้หญิงที่อยู่ในวัยทำงาน 40 ปี ขึ้นไป มีความเครียดสะสมจากการทำงาน ขาดการออกกำลังกาย ขาดการตรวจ สุขภาพ ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน และผู้หญิงที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน อ้วนลงพุง สูบบุหรี่ หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การตรวจสุขภาพหัวใจมีอะไรบ้าง

การตรวจเลือดดูภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Cardiacenzyme), การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram), การ อัลตราซาวน์หัวใจ (Echocardiogram) โดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสะท้อนไปยังหัวใจ แล้วนำกลับมาสร้างเป็นภาพที่เห็น คือ หัวใจของผู้ป่วย แพทย์สามารถใช้ในการวินิฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ การตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการเดินสายพาน (Exercise stress test), การตรวจระดับแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary calcium score) คือ การตรวจวัดปริมาณแคลเซียม หรือหินปูนที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่อง CT Scan ให้ความแม่นยำสูง ใช้เวลาตรวจน้อยไม่ต้องฉีดสี ใช้ปริมาณรังสีไม่มาก การฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram)


พญ. ฑิตถา อริยปรีชากุล

พญ. ฑิตถา อริยปรีชากุล
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด อายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด





สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์โรคหัวใจ
ชั้น 6 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 665, 666


ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

   
VAR_INCL_CK