อายุรกรรม

โรคสมองเสื่อม

โดยจะจำเรื่องใหม่ๆ ไม่ค่อยได้ จำได้แต่เรื่องเก่าๆ ทำให้พูดซ้ำซาก สร้างความรำคาญให้กับคนใกล้ชิดที่ไม่รู้ปัญหา ต่อมาก็มีอาการหลงลืม ทำแล้วว่าไม่ได้ทำ ไม่ได้ทำก็ว่าทำแล้ว บางครั้งก็หลงทิศผิดทาง หูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิด ความเฉลียวฉลาด ความคิด การตัดสินใจจะเสื่อมลง บางคนจะมีบุคลิกภาพ พฤติกรรม และอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยมากจะมีลักษณะกลับไปเป็นเด็ก และเมื่อสมองเสื่อมมากจะมีความพิการ ทำให้การเคลื่อนไหวไม่คล่อง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แม้แต่ในเรื่องกิจวัตรประจำวัน เดินไม่ได้จำอะไรไม่ได้เลย สื่อสารกันไม่ค่อยรู้เรื่อง ควาบคุมการขับถ่ายไม่ได้จนท้ายที่สุดก่อนเสียชีวิตจะพิการโดยสิ้นเชิงถาวร นอนนิ่งอยู่บนเตียง ทานอะไรไม่ได้เพราะกลืนไม่ลง

การป้องกัน คือ การบำรุงรักษาร่างกายและจิตใจให้ดี โดยการ

  • รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • อยู่ในที่อากาศถ่ายเทดี
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ทำอารมณ์ให้แจ่มใส ร่าเริงเป็นนิจ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา การตรากตรำทำงานหนัก และสิ่งอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • ไม่มียาขนานใดที่จะช่วยป้องกันสมองเสื่อม แม้ว่าจะมีการโฆษณาชวนเชื่อกันมากก็อย่าไปเชื่อ ยารักษาสมองเสื่อมยิ่งเชื่อได้น้อยลงไปอีก แม้แต่จะป้องกันไม่ให้เสื่อมยังพึ่งยาไม่ค่อยได้ เมื่อเสื่อมแล้วจะหายาไปซ่อมแซมให้ดีขึ้นยิ่งยากกว่ามาก แต่ยังมีผู้ป่วยสมองเสื่อมบางร่ายที่มีสาเหตุอื่นๆ และสมองยังไม่ฝ่อ สามารถรักษาได้ทุเลา หรือหายขาดได้ เช่น เนื้องอกของสมอง เลือดคั่งในสมอง สมองอักเสบ ขาดวิตามิน B1 หรือ B12 ขาดฮอร์โมนต่อมทัยรอยด์ และภาวะน้ำคั่วในสมอง เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมนับว่าเป็นภาระที่หนักมาก

สำหรับญาติ เพราะจะต้องระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดจากการกระทำของผู้ป่วย โดยเฉพาะการพัดตกหกล้ม การพลัดหลง การใช้เตาแก๊สแล้วลืมเปิด และการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วเกิดช็อต เป็นต้น

ผู้ป่วยบางรายก็มีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือลามก ทำให้ผู้ดูแลทุกข์กายทุกข์ใจ ในรายที่พิการสิ้นเชิง ก็ต้องได้รับการดูแลเหมือนทารก ท้ายที่สุดก็ต้องพิจารณาว่าถึงเวลาจะต้องช่วยยืดชีวิตหรือชลอการเสียชีวิตกันอย่างไรจึงจะเหมาะสม

เรียบเรียงโดย : นพ.พินิจ ลิ้มสุคนธ์
ศูนย์ : อายุรกรรม
ปรึกษาอายุรแพทย์ : 02-391-0011

VAR_INCL_CK