PMS และ TMS เครื่องกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็ก

มะเร็งลำไส้

Peripherl Magnetic Stimulation (PMS) และ
Transcranial Magnetic Stimulation (TMS)
เครื่องกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็ก

เทคโนโลยี PMS/TMS หรือย่อมาจากคำว่า Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) และ Transcranial Magnetic Stimulation (TMS) คือการใช้อุปกรณ์ที่เป็นอุปกรณ์ทางแม่เหล็กไฟฟ้าทางการแพทย์ที่เรียกว่า Electromagnetic ซึ่งเครื่องตัวนี้จะทำให้เกิดการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กความแรงสูง การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กนั้นมีมานานมากแล้ว แต่ว่าสมัยก่อนคลื่นแม่เหล็กจะต่ำมากซึ่งผลการรักษาจึงต้องใช้เวลายาวนานเห็นผลไม่ชัดเจน แต่ในปัจจุบันการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กนั้นสามารถรักษาด้วยคลื่นที่มีความแรงสูง ซึ่งความแรงสูงอันนี้เริ่มต้นจากการรักษาที่กะโหลกศีรษะที่เรียกว่า Transcranial Magnetic Stimulation หรือ TMS

โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ที่ใช้ตัวการรักษาแบบ PMS/TMS หรือการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็ก สามารถแบ่งง่าย ๆ เป็นประมาณ 4 กลุ่มโรค คือ

  1. กลุ่มอัมพฤษ์ อัมพาต ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ (Stroke) เกิดจากการบาดเจ็บในสมอง (Traumatic Brain Injury) เกิดจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal Cord Injury) กลุ่มนี้จะเป็นลุ่มใหญ่ที่จะสามารถใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กมาบำบัดรักษาแล้วเร่งรัดทำให้อาการฟื้นตัวของอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต เหล่านี้ดำเนินต่อเนื่องต่อไป แล้วก็มีการฟื้นตัวทุก ๆ ครั้งที่มีการรักษา คงได้ยินเรื่องราวของอัมพฤกษ์อัมพาตว่าหลังจาก 6 เดือน ไปแล้วหรือว่า 1 ปี ไปแล้วอาการที่ฟื้นตัวมามักจะคงที่ แต่การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กนี้ทำให้การฟื้นตัวดำเนินต่อไปได้เรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าจะไม่แบบ excellent หรือว่ากระตุ้นทีเดียวหายก็ตามแต่ความรู้สึกของผู้ป่วยหรือการตรวจจากแพทย์จะรู้ได้เลยว่าอาการอัมพฤกษ์อัมพาตต่างๆ เหล่านั้นมีความคืบหน้ามีผลต่อการรักษาที่ชัดเจน ทุกครั้งไป
  2. กลุ่มโรคกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง คือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของโรคที่เกี่ยวกับแนวไขสันหลังโดยตรง การเสื่อมของกระดูกสันหลัง การเสื่อมของหมอนรองกระดูก การเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก ทั้งหมดจะมีผลต่อตัวเส้นประสาทที่เป็นรากประสาทจากไขสันหลังหรือกระทั่งว่าจะเกิดจากการบาดเจ็บที่ไขสันหลังโดยตรงด้วยก็ได้ จริงๆ แล้วตัวการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กจะสามารถรักษากลุ่มปวดที่เกิดขึ้นจากแนวสันหลังได้ผลเฉียบขาดยิ่งกว่าการรักษาด้วยเครื่องมืออื่น เนื่องจากว่าการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กจะสามารถกระตุ้นลึกลงไปจนกระทั่งถึงรากประสาทได้ โดยไม่มีเครื่องไหนทำได้ดีเท่านี้ในขณะนี้
  3. กลุ่มปวดต่าง ๆ การบำบัดปวดที่เป็นเรื่องราวของการเคล็ดยอก การบาดเจ็บหรือเรื่องราวของการใช้งานเรื้อรังที่เกิดขึ้นตามตัว ซึ่งอาจเกิดจากตัวกล้ามเนื้อ ตัวเอ็น พังผืดหรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บของตัวเส้นประสาทโดยตรงก็ตาม ไม่ว่าอาการปวดจะเกิดขึ้นตามคอ บ่า ข้อศอก แขน มือ เอว หลัง สะโพก ขา เข่า หรือแม้กระทั่งข้อเท้า ทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนแม้เป็นเรื่องของกล้ามเนื้อเอ็นกระดูกไขข้อล้วน ๆ แต่สามารถบำบัดได้ด้วยเครื่องกระตุ้นตัวนี้ที่เราเรียกว่า PMS/TMS ซึ่งการรักษาสิ่งสำคัญเลยในกลุ่มนี้คือสามารถรักษาแล้วได้ผลการรักษายาวนานกว่าทุก ๆ เครื่องมือในทางกายภาพบำบัดที่เคยมีมาก่อน
  4. กลุ่มอาการชา คือเรื่องของการรักษาคนไข้ในที่มีอาการชา อาการรู้สึกที่ไม่ปกติในส่วนของแขน ขา ที่เรียกว่าปลายประสาทอักเสบ ปลายประสาท อักเสบกล่าวรวม ๆ คือพบได้เยอะมาก ๆ เป็นกลุ่ม ใหญ่ที่เกิดจากเบาหวาน มีอาการชาจากเบาหวานเยอะมาก การฟื้นตัวมีขีดจำกัดอาการชาคงเหลืออยู่ และอาจจะเป็นมากขึ้นตามระยะเวลาที่เกิดขึ้น เพราะว่าเบาหวานนั้นทำให้เกิดการขาดเลือด เรียกว่า ขาดสารอาหารจากน้ำตาลในเลือดที่จะไปเลี้ยงกับ ตัวเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดอาการอักเสบขึ้นมา เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะพบได้ในระยะหลังของเบาหวานคือ มีเรื่องของการชาตามปลายประสาท ซึ่งจะพบในผู้ป่วยกลุ่มเบาหวานจำนวนมากอยู่แล้ว การรักษาเพื่อให้ได้ผลจริงจังแล้วแทบจะไม่มีเลย จนกระทั่งมีการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กตัวนี้ ทุกครั้งที่ทำการรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ครั้งแรก ผู้ป่วยกลุ่ม เบาหวานที่มีอาการชามือ ชาเท้าจะดีขึ้น 50-100% เลยในแต่ละครั้งที่รักษา

นอกเหนือจาก 4 กลุ่มนี้แล้ว เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กตัวนี้ยังมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ คือ

  1. เพิ่มซิกแพคได้
  2. เพิ่มสัดส่วนของสะโพก
  3. สามารถลดไขมันหน้าท้องได้
  4. การรักษาอาการปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ เป็นต้น

TO KNOW ...
ข้อควรระวัง/ข้อแนะนำหลังการรักษา

การรักษาในบางครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของความปวดและความชาจะต้องใช้ความแรง ของตัวเครื่อง PMS/TMS ค่อนข้างมาก ความแรงเรียกว่าเป็นเปอร์เซ็นต์ คือใช้ความแรงกี่เปอร์เซ็นต์ของความแรงสูงสุด อย่างเครื่องนี้หัวคอยล์มีความแรงสูงถึง 3 เทสล่า ซึ่ง 3 เทสล่า ก็คือเท่า ๆ กับแม่เหล็กที่อยู่ในเครื่อง MRI (ตัวเล็ก 1.5 เทสล่า ตัวใหญ่ประมาณ 3-4 เทสล่า) เวลาบิด ความแรงสามารถบิดรักษาได้สูงสุดถึง 100% ความแรงมากมายขนาดนี้สิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกาย

  1. กล้ามเนื้อมีโอกาสระบมหรือเป็นตะคริวได้ 2-3 วันหลังรับการรักษา หลังจากนั้นจะกลับมาเป็นปกติ
  2. มีโอกาสเกิดความร้อนได้หากไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร้อนที่เกิดกับตัวโลหะที่วางอยู่ภายนอกร่างกาย เช่น หัวเข็มขัด หัวคอยล์เหรียญที่อยู่บนกางเกงยีนส์ พวกนี้ต้องคอยตรวจสอบ เวลาทำด้วยความแรงมาก ๆ เหล่านี้ ต้องเอาออกให้ห่างจากตัว




นพ.ปัณณวิชญ์ วงศ์วิวัฒนานนท์

นพ.ปัณณวิชญ์ วงศ์วิวัฒนานนท์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู

    

นพ.วรวัฒน์ เอียวสินพานิช

นพ.วรวัฒน์ เอียวสินพานิช
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู




สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ชั้น 9 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 971, 972



ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

VAR_INCL_CK