ปัญหาการกลืนและสำลัก ในผู้ป่วย อัมพฤก อัมพาต

การสำลัก

การสำลักในผู้สูงอายุ (Chocking)

ปัญหาการสำลักอาหารเป็นอีกปัญหาที่พบได้เยอะในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยพบว่าผู้สูงอายุในช่วง 75 ปี ขึ้นไปหากเกิดการสำลักจะส่งผลให้เปอร์เซนต์ความเสี่ยงของการเสียชีวิตหลังจากการสำลักเพิ่มมากขึ้น สาเหตุต่างๆที่ส่งผลให้เกิดการสำลักได้เช่น

  • ผู้สูงอายุที่มีปัญหาต่อการบดเคี้ยวอาหารที่เกิดจากฟัน
  • การรับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว หรือมีรูปร่างที่ไม่คุ้นเคย
  • การเลือกคุณลักษณะของอาหารเช่น ความเหลว ความหนืด
  • ผู้ป่วยทางระบบประสาทเช่น พาคินสัน, อัมพฤก อัมพาต

หากเราเป็นคนใกล้ตัวและพบเห็นอาการเหล่านี้เช่น ขณะผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยรับประทานอาหารแล้วไอซ้ำๆ บางรายไอจนหน้าแดงและไม่สามารถทานอาหารต่อไป หรือรุนแรงจนกลืนอาหารบางชนิดไม่ลงควรได้รับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความรุนแรงและวางแผนการรักษาฟื้นฟู โดยเฉพาะผู้ป่วยทางระบบประสาท หรืออัมพฤก อัมพาต ที่มักจะเจอปัญหาการกลืนเนื่องจากมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า กล้ามเนื้อปาก และลิ้น

ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมในการประเมินประสิทธิภาพของการกลืน ( VDO Flu) เป็นอีกวิธีที่เราสามารถเห็นปัญหาหรือประสิทธิภาพการกลืนของผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยกลืนสารเรืองแรงและบันทึก VDO ในการเคลื่อนที่ของสารเรืองแสง ด้วยคลื่น X Ray ตลอดในระยะเวลาของการทดสอบด้วยแพทย์ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการรักษาฟื้นฟูด้านกิจกรรมบำบัดด้านการฝึกกลืน ( Swallowing Training)

ปัญหาการกลืนในผู้ป่วย อัมพฤก อัมพาต

อีกปัญหาทางร่างกายที่ผู้ป่วยภาวะอัมพฤก อัมพาต คือ ปัญหาการกลืนอาหารลำบาก สาเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากสมองได้รับการบาดเจ็บมีผลให้การสั่งการให้กล้ามเนื้อแขนขา ใบหน้า ปาก ลิ้น ด้านใดด้านหนึ่งอ่อนแรงจนไม่สามารถทำหน้าที่ต่างๆได้ การกลืนอาหารก็เป็นอีกประเด็นสำคัญเพราะผู้ป่วยบางรายหลังเป็นอัมพฤก อัมพาตไม่สามารถรับประทานอาหารได้ หรือไม่สามารถกลืนอาหารเองได้เลย จนต้องมีการใส่สายยางให้อาหาร ดังนั้นการจัดการและวางแผนการรักษาฟื้นฟูด้านการกลืนเป็นอีกเป้าหมายของการรักษาฟื้นฟูด้านกายภาพบำบัดเช่นกัน คือการเข้ารับการประเมินการกลืน ( Swallow Test) จากแพทย์ด้วยการทำ (VDO Flu) ซึ่งเป็นการบันทึก VDO โดยให้ผู้ป่วยกลืนสารเรืองแสงพร้อมทั้งติดตามการเคลื่อนที่ของสารเรืองแสงด้วยการสะท้อนผ่าน X Ray เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการกลืน พร้อมทั้งใช้วางแผนการรักษาฟื้นฟูการกลืนด้วยการทำกิจกรรมบำบัด ( Swallowing Training )


คุณวราโชติ คงจิตร์

คุณวราโชติ คงจิตร์
หัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 9 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 971, 972

ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

facebook instagram line youtube