ผ่านวิกฤติด้วยการแพทย์ก้าวหน้า รพ.สุขุมวิทใช้อุปกรณ์นำร่อง ลดการเสียเลือดในการผ่าตัดเนื้องอกสมอง

เนื้องอก

ผู้ป่วยชายวัย 40 เศษซึ่งเคยมีอาการปวดศีรษะเป็นประจำเรื่อยมาอยู่ก่อนแล้ว แต่มาเกิดความผิดปกติจากอาการปวดศีรษะ และวูบหมดสติไปแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อนจึงตัดสินใจเข้ามาปรึกษาคุณหมอ และเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยเข้าพักใน “โรงพยาบาลสุขุมวิท” โดยคุณหมอเจ้าของไข้ได้ส่งเข้ารับการตรวจสแกนด้วย “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” หรือ ‘MRI’ และผลปรากฏว่า...มีเนื้องอกขนาดใหญ่อยู่ตรงสมองด้านขวา...และในเบื้องต้นประมาณว่าเนื้องอกที่ตรวจพบนี้มีขนาดเกินกว่า 5 ซ.ม.ทำให้ “ทีมแพทย์ รพ.สุขุมวิท” ที่ร่วมประเมินการรักษามีความเห็นพ้องกันว่า...น่าจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพราะเหตุที่เจ้าเนื้องอกก้อนนี้มีขนาด “ใหญ่มาก” แต่โชคดีที่ผู้ป่วยรายนี้ซึ่งมีนามว่า “คุณฉัตรา” ก็มีดีกรี “แพทยศาสตร์บัณฑิต” ติดตัวอยู่ก่อนแล้วจึงเข้าใจดีว่ามีความเสี่ยงที่มันจะไปกดทับจุดสำคัญต่าง ๆ ของสมอง จึง “ไม่มีทางเลือกอื่น” นอกจากทำตามคำแนะนำของคุณหมอเฉพาะทางด้านระบบประสาทและสมอง ท่านแรกคือ “นพ.จักรี ธัญยนพพร” ซึ่งเป็น “ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท” กับ “พญ. จักษณี ธัญยนพพร” “แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท” มาร่วมกันดูแลรักษาจนกระทั่งการผ่าตัดกำจัดเนื้องอกเจ้าปัญหาออกไปและได้ผลสำเร็จสมความคาดหมายในที่สุด...โดย “คุณหมอจักรี” อธิบายถึงภาวะอาการของผู้ป่วยรายนี้ว่า

เนื้องอก

“...คุณฉัตรามาด้วยอาการปวดศีรษะ มีอาการมือสั่นซึ่งเป็นมาค่อนข้างนานกว่า 10 ปี วันที่มาตรวจก็เห็นว่ามีปวดศีรษะค่อนข้างมากแล้วก็มือสั่นอย่างเห็นได้ชัดแต่ยังไม่มีอาการอ่อนแรงครับ เมื่อส่งไปตรวจ MRI แล้วพบว่ามีเนื้องอกสมองอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญที่ควบคุมแขน ขา ข้างตรงข้าม คือผู้ป่วยมีเนื้องอกที่สมองด้านขวา จึงมีอาการมือสั่นข้างซ้าย และเป็นตำแหน่งที่ควบคุมแขน ขาด้วย เพราะฉะนั้นจึงได้อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจก่อนว่าการผ่าตัดมีความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดอาการอ่อนแรง หรืออัมพาตซีกซ้ายซีกหนึ่งนะครับ...มีโอกาสที่มันจะเกิดปัญหาเรื่องสูญเสียเลือดจำนวนมากระหว่างผ่าตัด...มีโอกาสที่จะเกิดการสูญเสียฟังก์ชันของความจำ...หรืออาจจะเกิดภาวะชักกระตุกได้นะครับ...”

หลังจาก“คุณหมอจักรี” ได้เห็นจากภาพวินิจฉัยที่ MRI ส่งออกมาแล้วก็ประเมินจากประสบการณ์ในฐานะเป็น “ประสาทศัลยแพทย์” ก็คาดเดาได้ว่าน่าจะเป็นเนื้องอกชนิดดีมากกว่าเนื้องอกชนิดร้าย และด้วยความที่มันมีขนาดใหญ่ จึงได้พูดให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงโอกาสที่อาจเกิดภาวะต่าง ๆ รวมถึงการเสียเลือดที่ค่อนข้างมาก ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงหลังจากที่คุณหมอได้ทำการ “ฉีดสี” แล้ววางแผนการผ่าตัดขจัดเนื้องอกอย่างเป็นขั้นตอน อย่างแรกที่คิดคือจะใช้เทคนิคการอุดเส้นเลือด ณ ตำแหน่งที่จะควบคุมจุดส่งเลือดไปเลี้ยงเนื้องอกไว้เลยด้วยเหตุผลคือ

เนื้องอก

“...เพื่อจะลดการสูญเสียเลือดในระหว่างการผ่าตัดซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้ได้ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยออกมาดี โดยได้อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจไว้ก่อนว่าที่ต้องใช้เทคนิคนี้ก็เพราะเนื้องอกมันมีชีวิตนะครับ ก็เลยสามารถดึงหลอดเลือดเข้ามาใหม่ได้ เพราะฉะนั้นหลังจากอุดหลอดเลือดปุ๊บเราก็ต้องเตรียมการผ่าตัดทันที เพื่อป้องกันการสร้างหลอดเลือดใหม่ของเนื้องอกเอง โดยได้ศึกษาภาพจาก MRI ให้ชัดเจนและตรวจร่างกายอีกครั้งเพื่อป้องกันการผิดพลาดอันอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการแขนขาอ่อนแรง หรืออัมพาตซีกซ้ายขึ้นมาได้ จากนั้นจึงใช้ “อุปกรณ์นำร่อง” หรือเรียกเป็นภาษอังกฤษว่า ‘Navigator’ คือ สร้างภาพเสมือนว่าอยู่ระหว่างการผ่าตัด เพื่อจะได้กำหนดว่าก่อนการผ่าตัดจะเป็นแบบไหนอย่างไร รวมทั้งเตรียมความพร้อมในห้องผ่าตัดไว้ให้ชัดด้วยว่าจะเป็นอย่างไร เพื่อป้องกันความผิดพลาดในกรณีลงมีดกรีดแผลผ่าตัดยาวเกินไป ซึ่งอาจเกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อสมองส่วนข้างเคียง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงดังที่อธิบายให้ผู้ป่วยได้ทราบไว้ก่อนนั่นเองครับ...”

ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น “คุณหมอจักรี” จึงอธิบายเสริมถึง “หลักการ” ของการใช้เทคนิค “อุดหลอดเลือด (Catheter Angiography Embolization)” เพื่อลดการสูญเสียเลือดในระหว่างผ่าตัดเพราะข้อดีของการที่ผู้ป่วยเสียเลือดค่อนข้างต่ำก็คือ...ช่วยให้การผ่าตัดง่ายขึ้น...อย่างในกรณีของ “คุณฉัตรา”...แต่หากเป็นผู้ป่วยรายอื่นที่มีวัยสูงมากกว่านี้จะไม่อาจรับความเสี่ยงจากการเสียเลือดในปริมาณมากได้ เนื่องจากหัวใจจะทำงานหนักระหว่างเข้ารับการผ่าตัด จึงอาจเกิดการหัวใจวายเฉียบพลัน อันจะส่งผลให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้นมาทำให้ผลการรักษาไม่ดี เพราะฉะนั้น ประโยชน์ที่จะได้จากการลดการเสียเลือดคือผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย...แต่ถึงแม้ว่าทุกวันนี้จะมีเทคนิคการอุดหลอดเลือดกรณีเนื้องอกสมอง ก็มิใช่ว่าจะทำได้ทุกราย เพราะยังต้องพิจารณาตำแหน่งที่จะอุดหลอดเลือดด้วยโดยในบางตำแหน่งจะไม่สามารถทำได้หากหลอดเลือดตรงนั้นนอกจากจะไปเลี้ยงเนื้องอกแล้วยังเลี้ยงเนื้อสมองด้วย....”

“...โรคเนื้องอกสมอง เป็นโรคหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญ เราไม่มีทางรู้เลยถ้าเราไม่ตรวจจนกระทั่งมีอาการ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยคือจะรอให้มีอาการอ่อนแรงแขน ขาซึ่งก็คงไม่มีใครที่อยู่ดี ๆ ไปเอกซเรย์สมองเล่น ๆ นะครับ แต่ไม่ว่าจะไปเอกซเรย์สมองเล่น ๆ หรือไปตรวจพบเพราะมีอาการแล้วก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือควรพบแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิดทันที เพราะเราไม่มีทางรู้ว่ามันเป็นเนื้องอกสมองชนิดธรรมดาหรือเนื้อร้าย และในเมื่อมีความจำเป็นเนี่ยอาจจะต้องตัดชิ้นเนื้อมาตรวจหรืออาจจะต้องเอาเนื้องอกออกเลย ขึ้นอยู่กับรอยโรคที่เป็นนะครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นคือยังขึ้นอยู่กับป่วยเองด้วยเช่น มีความพร้อมแค่ไหน มีโรคประจำตัวเยอะหรือไม่ ก็เป็นโรคที่ป้องกันไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร เรารู้อย่างเดียวว่าถ้ามันเป็นมะเร็งของปอด ตับ หรือว่าเต้านม จะมีโอกาสที่มันจะแพร่กระจายมาสมองมากขึ้น ซึ่งคุณหมอทุก ๆ ท่านที่เขาดูแลเกี่ยวกับเรื่องมะเร็งของตามระบบต่าง ๆ เหล่านี้รู้อยู่แล้วว่า ถ้าเริ่มมีอาการเกี่ยวกับสมองละก็เขาจะต้องรีบทำการเอกซเรย์ แล้วรีบส่งพบแพทย์เฉพาะทางอีกครั้งหนึ่งครับ...” สำหรับอาการของเนื้องอกในสมองที่ควรให้ความสำคัญนั้น พญ.จักษณี กล่าวว่า อาการเนื้องอกในสมอง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งเนื้องอกสมองนั้นๆ ว่ารบกวนส่วนใด ขนาดใหญ่มากน้อยแค่ไหน ในกรณีคุณฉัตรา มีอาการ ปวดหัว ชา มือสั่น เป็นลม แต่บางรายก็อาจเกิดแขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด เห็นภาพซ้อน สะอึก ซึ่งอาการก็อาจจะคล้ายโรคหลอดเลือดสมองบาง ก็ต้องซักประวัติ ตรวจให้ละเอียด เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง รวมถึงการรักษาครั้งแรกนั้นสำคัญมาก ทั้งศัลยแพทย์ที่ต้องผ่าตัดออกมาได้ดี และพยาธิวิทยาที่สามารถวินิจฉัยว่าเนื้องอกนั้นเป็นชนิดไหนดีหรือร้าย และการติดตามผล 3-6 เดือนก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ

“...ความประทับใจจากผู้ป่วย จากที่ผมฟังคำอธิบายจากคุณหมอจักรีแล้วเข้าใจดีว่าความเสี่ยงค่อนข้างจะสูงมาก ทั้งเรื่องเสียชีวิตและพิการนะครับ แต่ก็ผ่านพ้นมาได้ด้วยดีด้วยความสามารถของคุณหมอจักรี ของทางโรงพยาบาล แล้วก็คุณหมอจักษณีครับ ทำให้ผมมีการฟื้นตัวที่ค่อนข้างเร็วมาก ๆ หากย้อนดูจาก timeline จะเห็นว่าผมเข้ามาวันที่ 7... วันที่ 8 วางแผน...วันที่ 9 คุณหมอทำการอุดหลอดเลือด วันที่ 10 อยู่ในห้อง ICU และใช้ชีวิตปกติเลย...วันที่ 11 เข้ารับการผ่าสมอง... ซึ่งใคร ๆ ก็รู้ว่ามันอันตรายนะครับ แต่กลายเป็นว่าหลังจากผมผ่านการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งดูในคลิปของโรงพยาบาลแล้วก็รู้สึกเลยว่า...มันค่อนข้างน่ากลัว...แต่เมื่อฟื้นจากยาสลบได้แค่ครึ่งชั่วโมง ซึ่งมันน่าอัศจรรย์มาก ๆ...ครึ่งชั่วโมงผมก็พูดคุยกับญาติพี่น้อง กับคุณหมอ และดูจากอะไรหลาย ๆ อย่างในคลิปซึ่งญาติ ๆ ถ่ายเอาไว้ ผมก็ยังแปลกใจว่าทำไมผมถึงฟื้นตัวเร็วขนาดนี้นะครับ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นความสามารถของคุณหมอซึ่งผมยอมรับจริง ๆ ว่าคุณหมอจักรีเขาเก่งมาก ๆ จริง ๆ ในเรื่องนี้ เพราะว่า เขาก็จะพูดให้ผมฟังตลอดว่าให้ผมวางใจ เชื่อมือเขา... การที่ผมมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ก็ต้องขอบคุณคุณหมอจักรี และคุณหมอจักษณี ขอบคุณโรงพยาบาลสุขุมวิทที่ดูแลผมอย่างดีมาก ๆ ตลอด 17 วันที่อยู่ในโรงพยาบาล บอกได้เลยว่าเป็น Service ที่ทำให้เราประทับใจครับ...”


แพทย์หญิงจักษณี วรนุชกุล

แพทย์หญิงจักษณี วรนุชกุล
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท



นพ. จักรี ธัญยนพพร
นพ. จักรี ธัญยนพพร
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านประสาทศัลยแพทย์ และศัลยแพทย์หลอดเลือดสมอง



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ศูนย์ระบบประสาทและสมอง
ชั้น 1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 225, 226, 227

ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

facebook instagram line youtube
VAR_INCL_CK