ปล่อยให้ปวดหลังเรื้อรังนานๆ จะเป็นอะไรไหม?

ปวดหลัง

อาการปวดหลังที่ปล่อยไว้นานจะก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่าอาการปวดหลังนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร ถ้าเกิดจากสาเหตุของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นต่างๆ หากปล่อยให้เรื้อรังก็จะก่อให้เกิดความรำคาญ รู้สึกไม่สบายตัว ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันไม่ปกติทำให้ชั่วโมงการทำงานน้อยลงทำให้ความแข็งแรงของหลังน้อยลงด้วย

แต่ในกรณีอาการปวดหลังที่เกิดจากกระดูกสันหลังและเส้นประสาท ความอันตรายจะมีความรุนแรงมากกว่า เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนเรื้อรัง ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ หมอนรองกระดูกไปกดทับเส้นประสาทมากขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคืออาการจะเริ่มปวดหลัง และร้าวลงไปที่ขา เมื่อมีอาการปวดจะเริ่มมีอาการชาถ้าหากเป็นมากๆจะเริ่มอ่อนแรง และไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้ปัสสาวะ อุจจาระไม่ออก หรือทำให้เป็นอัมพาตขึ้นมาได้

ลักษณะการปวดที่อันตราย

  • มีอาการปวดร้าวลงขา ตั้งแต่ 2 อาทิตย์ขึ้นไป รวมทั้งมีอาการอ่อนแรงของขาร่วมด้วยควรรีบมาพบแพทย์ทันที และทำการรักษาด้วยการผ่าตัดทันที
  • หากมีอาการปวดหลังที่เป็นๆ หายๆ ยังถือว่าไม่ถึงขั้นรุนแรงเท่าไหร่นัก จึงยังไม่ต้องรีบทำการผ่าตัดสามารถเข้ามาพบแพทย์และทำกายภาพบำบัด ทั้งนี้หากพบว่าอาการปวดหลังไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ หรืออาการปวดหลังดังกล่าวไม่บรรเทามีแต่จะเพิ่มความรุนแรง หรือมีการขยายบริเวณที่ปวดออกไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงหรือมีอาการชา ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

วิธีการรักษา

การรักษาปัญหาปวดหลังมีหลายวิธี อาทิ

  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อลดปวด เพิ่มการไหลเวียนของกล้ามเนื้อ การคลายกล้ามเนื้อ
  • การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยการฉีดสลายพังผืด โดยเจาะรูเล็กๆบริเวณช่องกระดูกไขสันหลังบริเวณก้นกบ จากนั้นก็สอดสายเข้าไปที่ช่องกระดูกไขสันหลังขึ้นไปจนถึงบริเวณตำแหน่งที่มีหมอนรองกระดูกเคลื่อน มีการอักเสบและมีพังผืดอยู่รอบๆ หรือเส้นประสาทที่อักเสบ ซึ่งจะช่วยให้สอดสายเข้าไปถึงตำแหน่งที่เกิดการอักเสบได้โดยตรงเพื่อทำการสลายพังผืดบริเวณรอบๆ เส้นประสาทซึ่งอาจมีการฉีดยาลดอาการอักเสบรอบๆ ด้วยซึ่งสามารถช่วยลดการอักเสบของเส้นประสาทลดการเจ็บปวดให้ผู้ป่วยได้โดยไม่มีการทำลายโครงสร้างของกระดูกสันหลัง ซึ่งจะไม่มีการไปทำลายโครงสร้างของกระดูกสันหลัง แต่จะไปลดการอักเสบรอบๆกระดูกสันหลัง
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง แผลเล็กน้อยกว่า 1 ซม. โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่เหมือนสมัยก่อน ไม่ต้องเปิดแผลใหญ่ ไม่ต้องเลาะกล้ามเนื้อหลัง แผลเล็กลดการบอบช้ำของกล้ามเนื้อ ฟื้นตัวเร็ว เสียเลือดน้อย ผู้ป่วยสามารถเดินได้ในวันถัดไป สามารถกลับไปใช้ชีวิตแบบปกติได้อีกครั้ง
  • การผ่าตัดแบบเปิด (แบบมาตรฐาน) โดยจำเป็นต้องเปิดกล้ามเนื้อหลัง ทำการเลาะกล้ามเนื้อหลังบางส่วน และตัดกระดูกบางส่วน กล้ามเนื้อหลังมีการบาดเจ็บ ใช้เวลาในการฟื้นตัวประมาณ 7 วัน

นพ.พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส

นพ.พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ




สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ศูนย์โรคกระดูกสันหลัง
ชั้น1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 110, 111



ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

VAR_INCL_CK