หายปวดหลังโดยไม่ต้องผ่าตัดด้วยวิธีฉีดสลายพังผืดกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง

ปวดหลัง

ทนความปวดเพราะกระดูกทับเส้นตั้งแต่วัยเพียง 59!!

คุณนิลบล เอกรังษี” ผู้ป่วยหญิงวัย 66 ปี ปวดหลังเรื้อรังมานาน มีปัญหากลัวการผ่าตัดจึงพยายามรักษาโดยอาศัยการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เรื่อยมาแต่ก็ไม่อาจหลุดพ้นความปวดที่รุมเร้ามาตลอดเวลา 7ปี ได้มีโอกาสดูรายการโทรทัศน์นำเสนอเนื้อหาการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเช่นเดียวกับที่เผชิญอยู่พอดีจึงลองมาพบคุณหมอที่ “โรงพยาบาลสุขุมวิท” เพื่อหวังจะขจัดความปวดให้พ้นตัว เหมือนกับผู้ป่วยที่ได้ดูจากทีวี...

คุณนิลบลกล่าวว่า “...ปวดหลังมากเลยค่ะ เป็นเวลา 7 ปีแล้วไปไหนมาไหนก็เจ็บ เดินก็เจ็บ นอนก็เจ็บ หลังนี่ปวดไปหมด จะลุก จะนั่ง จะทำอะไรก็ลำบาก คนรอบข้างก็ทำให้เขาเดือดร้อนด้วย จะชวนเดินไปไหน ไป Shopping ก็ทำไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้ จะทำกับข้าวให้ลูกกินก็ยืนไม่ได้ ยืนไม่ได้นานเลย ก็เลยตัดสินใจว่าจะต้องทำอะไรสักอย่าง ก็เลยไปหาหมอตามโรงพยาบาลใกล้ ๆ เขาก็เช็คดูทำ MRI หมอก็ให้ฝังเข็ม นวด ดึงตัว ทำกายภาพ ทำทุกอย่างค่ะ เพื่อให้ดี บรรเทาดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้ดีขึ้นเลย ก็เลยตัดสินใจว่าต้องทำอะไรสักอย่างกับตัวเอง แต่เพื่อนก็บอกว่าอย่าพึ่งเลย ลองไปดูที่อื่นสิ เผื่อจะดีขึ้น เขาก็นัดไปที่ต่างจังหวัดมั่ง ที่ไหนมีดี มีนวดก็ไป ปรากฏว่าไม่ดีขึ้นเลยค่ะ เจ็บกว่าเก่าอีก ก็เลยตัดสินใจต้องหาอะไรสักอย่างให้มันดีกว่านี้...พอดีว่าได้ดูรายการอุ่นใจใกล้หมอ เขาพูดตรงกับโรคที่ดิฉันเป็นก็เลยคิดว่ามาดีกว่าเผื่อจะได้รักษาที่ดีขึ้น ก็เลยตรงมาที่โรงพยาบาลสุขุมวิทเลยค่ะ มาเจอคุณหมอพูนศักดิ์ท่านเก่งมาก ท่านสามารถดูแป็บเดียวว่าเออ ตรงนี้นะ ช่องมันเหลือนิดเดียวแล้ว สามารถตัดพังผืด ทำให้เราดีขึ้น ดิฉันเลยตัดสินใจรักษาที่นี่เลยค่ะ ก็รู้สึกว่าโอเคค่ะ...”

เลือกวิธีรักษาได้ 2 อย่าง... “ผ่าตัด” หรือ “ไม่ผ่าตัด”

อย่างแรกที่คุณหมอคุณหมอพูนศักดิ์” ซึ่งก็คือ“นพ.พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส...แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมกระดูกสันหลังอธิบายคือภาวะอาการที่เกิดกับผู้ป่วยซึ่งในระยะแรกๆจะเป็นแบบปวดๆ หายๆ หรือเป็นครั้งคราว แต่ต่อมาจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆและมีระยะยาวขึ้น ยิ่งในช่วงหลังๆจะมีปวดร้าวลงขาทั้ง 2ข้างโดยมีอาการชาร่วมด้วย ซึ่งในช่วง2-3 ปีที่ผ่านมาได้ปวดหนักขึ้นที่ขา ที่เท้า 2ข้างทำให้เดินลำบาก เรียกว่าอาการทรุดลงมากแม้ว่าเจ้าตัวจะได้ไปรักษามาหลายที่มีทั้งการทานยา ทำกายภาพบำบัด และสุดท้ายคือไปรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งแล้วไม่หายสักที เลยตัดสินใจมาที่ “โรงพยาบาลสุขุมวิท” ทำให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการตรวจสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI ควบคู่กับการตรวจกระดูกสันหลังจึงพบว่า หมอนรองกระดูกสันหลังมีการเสื่อมสภาพตามวัยตั้งแต่ข้อที่ 4,5 มีการเคลื่อนตัวออกมาด้านหลังทำให้เกิดการเสียดสีกับเส้นประสาท แม้ว่าการกดทับจะไม่มากแต่ก็มีร่องรอยอาการอักเสบค้างอยู่ข้างใน รวมทั้งมีการอักเสบของกระดูกข้อต่อซึ่งเสื่อมสภาพด้วยเช่นกัน โดย “คุณหมอพูนศักดิ์” วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยรายนี้ปวดหลังเรื้อรังนานถึง 7ปี ซึ่งหลังจากคุณหมอได้หารือกับทีมแพทย์แล้วได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการรักษามาเสนอ 2วิธี ดังนี้

“...วิธีแรกคือการผ่าตัดใหญ่ซึ่งจะเข้าไปปรับโครงสร้างของกระดูกรวมทั้งแก้ไขเรื่องการกดทับของเส้นประสาทแล้วก็กระดูกงอกต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าการผ่าตัดใหญ่ย่อมมีความเสี่ยง จึงได้แนะนำอีกวิธีหนึ่งคือการสลายพังผืด ซึ่งจะไม่มีการไปทำลายโครงสร้างของกระดูกสันหลัง แต่จะไปลดการอักเสบรอบ ๆ กระดูกสันหลัง ซึ่งคนไข้ก่อนหน้าที่จะมีอาการ ค่อนข้าง Active มีกิจกรรมที่ดีพอสมควร แล้วโครงสร้างกล้ามเนื้อต่างๆ ก็ยังค่อนข้างแข็งแรง จึงน่าจะเลือกใช้วิธีลดการอักเสบตรงบริเวณรอบๆ เส้นประสาทที่มีการอักเสบอยู่โดยสามารถใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่าการสลายพังผืด ซึ่งพัฒนาขึ้นมาสำหรับคนไข้กลุ่มที่เป็นมากขึ้นจากปกติ แต่ว่ายังไม่ถึงขั้นที่ต้องผ่าตัด ในอดีตคนไข้กลุ่มนี้ ก็จะได้รับการกายภาพบำบัด แต่ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีอาการตกค้างหรือว่าทำให้คุณภาพชีวิตแย่ บางท่านก็มีการปวดร้าวลงขาทำให้ทำงานไม่ได้เดินลำบากเทคโนโลยีนี้จึงได้รับการพัฒนามาเพื่อช่วยลดการอักเสบในช่องไขสันหลังกับบริเวณรอบๆ หมอนรองกระดูกที่เคลื่อน หรือเส้นประสาทที่อักเสบ...”

“เทคโนโลยีการสลายพังผืด”...ทางเลือกในการรักษาสำหรับกลุ่มใดบ้าง?

เทคนิคการใช้เทคโนโลยีการสลายพังผืดจะดำเนินการโดยเจาะรูเล็กๆบริเวณช่องกระดูกไขสันหลังบริเวณก้นกบ จากนั้นก็สอดสายเข้าไปที่ช่องกระดูกไขสันหลังขึ้นไปจนถึงบริเวณตำแหน่งที่มีหมอนรองกระดูกเคลื่อน มีการอักเสบและมีพังผืดอยู่รอบๆ หรือเส้นประสาทที่อักเสบ ซึ่งโดยจะช่วยให้สอดสายเข้าไปถึงตำแหน่งที่เกิดการอักเสบได้โดยตรงเพื่อทำการสลายพังผืดบริเวณรอบๆ เส้นประสาทซึ่งอาจมีการฉีดยาลดอาการอักเสบรอบๆด้วยซึ่งสามารถช่วยลดการอักเสบของเส้นประสาทลดการเจ็บปวดให้ผู้ป่วยได้โดยไม่มีการทำลายโครงสร้างของกระดูกสันหลัง...

อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีนี้สามารถนำมาใช้ได้กับผู้ป่วยหลายกลุ่ม เช่น

  1. กลุ่มคนป่วยที่อายุน้อย ๆ ซึ่งหมอนรองกระดูกเคลื่อนนิดหน่อย โดยในช่วงแรก ๆ หมอนรองกระดูกจะมีการเคลื่อนออกและยุบเข้าได้ทำให้เสียดสีกับเส้นประสาท หรือเกิดการกดทับ-เกิดการอักเสบขึ้น โดยหมอนรองกระดูกจะยุบเข้าเวลานอนซึ่ง บางครั้งการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะมองไม่เห็นส่งผลให้ผู้ป่วยกินยาแล้วไม่หาย ออกกำลังกายก็ไม่ดีขึ้น แต่เมื่อใช้เทคโนโลยีมาช่วยลดอาการอักเสบแล้วจะช่วยให้พ้นจากความเจ็บปวดได้
  2. กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งพบบ่อยอย่างเช่นกลุ่ม Young - Old ที่ยังมีความแข็งแรง ยังกระฉับกระเฉงซึ่งแม้จะมีอาการปวดหลังก็ยังพอทำงานหรือทำกิจกรรมได้บ้างแต่ไม่พร้อมสำหรับการผ่าตัดใหญ่ จึงสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อจะได้คืนสภาพความกระฉับกระเฉงได้เหมือนเดิม
  3. กลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องกระดูกสันหลังค่อนข้างมาก แต่ไม่สามารถผ่าตัดได้จากกรณีที่มีโรครุมเร้า เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต บางคนก็ไตวายไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัด ก็อาจใช้วิธีนี้มาช่วยลดอาการอักเสบบริเวณช่องไขสันหลังมาช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ดีขึ้น ไม่ต้องนอนติดเตียง นั่งรถเข็นไปไหนมาไหนได้ บางรายก็อาจเดินได้ซึ่งจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยได้โดยที่ไม่ต้องไปเสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดใหญ่นั่นเอง

“เทคโนโลยีการสลายพังผืด”... ทางเลือกในการรักษา

ความรู้สึกหลังการรักษาจากคุณนิลบล “...หลังการฉีดสลายพังผืดดีขึ้น หายเจ็บ เหมือนได้ขึ้นสวรรค์เลย ไม่เคยคิดว่าจะได้อยู่ในสภาพเหมือนเดิม เกือบ ๆ เหมือนเดิมทุก ๆ อย่างเลย ดีมากทั้ง ๆ ที่ตอนเป็นนั้นเจ็บมาก หลังได้รับการสลายพังผืด ใช้เข็มนิดเดียวเข้าไปสลายพังผืด หายทันทีเลย ไม่นึกไม่ฝันว่าจะได้กลับมาใช้ชีวิตเหมือนเดิม เดินไปไหนก็สะดวก ได้เดิน ได้ Shopping เวลานอนก็ไม่มีความทุกข์ มีแต่ความสุข ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ใช้ชีวิตแทบจะปกติเลย...อยากบอกกับคนที่มีอาการป่วยคล้าย ๆ ดิฉัน อย่ารอช้าเลยค่ะ เดี๋ยวจะเป็นมากกว่านี้ ให้รีบมาทำการรักษารับคำปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาลสุขุมวิท ใช้ชีวิตได้ปกติแล้วคะ...”



นพ. พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส
"นพ. พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส"
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมกระดูกสันหลังและข้อ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
ชั้น1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 110, 111


ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

   
VAR_INCL_CK