เครียด หงุดหงิด หลงๆ ลืมๆ ฟังทางนี้


เครียด

ตรวจสอบความคิดว่าคุณคิดในแง่ลบอยู่หรือไม่?

กังวลมากไปหรือเปล่า เพื่อปรับลดความรู้สึกให้อยู่กับสถานะการณ์ปัจจุบันให้มากขึ้น

หยุดพัก

หาเวลาผ่อนคลาย ลดอาการปวด ตึง เกร็ง คอบ่าไหล่และแขน บริหารท่าทางลดปวดที่โต๊ะทำงาน หรือพบนักกายภาพบำบัดผู้ชำนาญการเพื่อรักษาฟื้นฟูอาการ Office Syndrome สมัยนี้เครื่องมือทันสมัยรักษาตรงจุดได้ประสิทธิภาพ ที่คุณไม่ต้องทนปวด แต่สามารถผ่อนคลายได้ด้วยการกายภาพบำบัด อาทิ

  • การรักษาเพื่อลดอาการปวดและอาการชา ด้วยการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กที่ลงไปใต้ชั้นผิวหนังได้ลึกยิ่งขึ้น (PMS)
  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทกเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อมีการซ่อมแซมในบริเวณที่มีการบาดเจ็บ Shock Wave Therapy
  • การรักษาเพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท โดยการใช้ High Laser Therapy
  • การยืดกล้ามเนื้อโดยนักกายภาพบำบัด ซึ่งมีประโยชน์ทั้งการรักษาและป้องกันการบาดเจ็บซ้ำได้
  • การฝังเข็มโดยแพทย์ผู้เชียวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือการจัดท่าทางในการดำเนินชีวิต

จัดสรรเวลา

จัดลำดับความสำคัญในการทำงานว่าควรรีบทำสิ่งใดก่อน เพื่อจัดส่งให้ตามเวลา

หายใจลึกๆ

นั่งหรือนอนพัก และหลับตาหายใจเข้าทางจมูกให้ท้องป่อง นับ 1-4 และค่อยปล่อยลมหายใจออกช้าๆให้ท้องยุบลงนับ 1-4 ทำติดต่อกันสักพัก

ใช้ภาพจิตนาการ

หลับตาลงสักพักพร้อมนึกสถานที่ชอบหรือสิ่งที่คุ้นเคยตอนเด็กที่ทำให้เรามีความสุข เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น

ทานอาหารที่มีประโยชน์

เลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีกากใย ผัก ผลไม้ ธัญพืช และเน้นโปรตีน ลดแป้ง น้ำตาล ซึ่งช่วยลดความเครียด มากกว่าการดื่มกาแฟที่มีสารคาเฟอีน น้ำตาล แอลกอฮอล์

ออกกำลังกายเป็นประจำ

เลือกออกกำลังกายที่เหมาะกับตนเองเป็นประจำ นอกจากจะช่วยให้สุขภาพดี ยังช่วยผ่อนคลาย เพราะการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ส่งผลช่วยคลายเครียด ลดความวิตกกังวล และทำให้ร่างกายผ่อนคลาย

สื่อสารเข้าสังคม

การพบปะสังสรรค์เข้าสังคมช่วยลดภาวะความเครียด และช่วยให้ปลดปล่อยความเครียดได้ดียิ่งขึ้น และเมื่อได้พูดคุย หรือระบายความรู้สึกกับคนสนิท อาทิ สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนช่วยรับฟังปัญหาความเครียด อาจได้รับข้อแนะนำ แนวทางใหม่ๆ หรือความรู้สึกสบายใจ

ให้เวลากับการนอน

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 5 - 7 ชม. ช่วยให้ร่างกายผักผ่อนได้เต็มที่ เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับระบบภูมิคุ้มกัน พร้อมให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยลดความดันโลหิต และช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดได้ดี

หากทำตามคำแนะนำข้างต้น และความรู้สึกเครียดไม่ดีขึ้น ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อแนะนำการดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิตให้ทุกวันสดใสพร้อมเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ให้ไปถึงเป้าหมายของคุณ



แพทย์หญิงหรรษา ลีลาทนาพร

แพทย์หญิงหรรษา ลีลาทนาพร
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจิตเวช




สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์อายุรกรรม
ชั้น 1B โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 225-227


ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

   
VAR_INCL_CK