รักษาโรคไหล่ติดด้วย US guided intracapsular distension

ภาวะหัวไหล่ติด

รักษาโรคไหล่ติดด้วย US guided intracapsular distension

ภาวะหัวไหล่ติด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของข้อไหล่ และมีการหนาตัวของเยื่อหุ้ม ข้อต่อ หัวไหล่ ทำให้ผู้ป่วย มีอาการปวดและ ทำให้พิสัยของการเคลื่อนไหว ลดลง ใน 10 ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องอัลตร้าโซนิค สำหรับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และเทคนิคการฉีดยาเข้าข้อหัวไหล่ โดย Shoulder Musculoskeletal (MSK) Ultrasound (US) Interventions สามารถเพิ่มศักยภาพของการลดอาการปวดและเพิ่มพิสัยข้อให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

US guided intracapsular distension

เป็นหัตถการที่มีการศึกษามากที่สุดในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา วิธีการนี้ คือการฉีดสารน้ำ ปริมาตร 20-30 ml โดยจะฉีดที่ตำแหน่ง Posterior glenohumeral joint สารน้ำที่ใส่ในข้อไหล่ประกอบด้วย 1% และยาเพื่อบรรเทาอาการอักเสบซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสม

ภาวะหัวไหล่ติด

แสดงภาพระหว่างการทำหัตถการ US guided intracapsular distension



โดยผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยหัตถการนี้มีพิสัยของข้อไหล่ในทุกด้านที่ดีขึ้นทันทีภายหลังการทำหัตถการ รวมถึงอาการปวดข้อไหล่ที่ลดลงและสามารถใส่เสื้อได้ง่ายขึ้น

รูปที่ 2 พิสัย Forward flexion ภาพบน(ก่อน) ภาพล่าง (หลัง)

ภาวะหัวไหล่ติด ก่อนหลังทำ


หลังเข้ารับการรักษาผู้ป่วยยังคงจำเป็นต้องออกกำลังดัดข้อไหล่ด้วยตนเองที่บ้านหรือทำกายภาพบำบัดสม่ำเสมอ โดยส่วนมากผู้ป่วยสามารถดีขึ้นจากภาวะไหล่ติดได้อย่างรวดเร็วภายหลังการทำหัตถการ 4 – 6 สัปดาห์ การทำหัตถการดังกล่าวสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่สิ่งสำคัญคือการค้นหาสาเหตุได้อย่างถูกจุดและทำให้รักษาได้อย่างตรงจุด หากผู้ป่วยมีอาการปวดติดที่ข้อไหล่ควรรีบปรึกษาแพทย์ก่อนมีอาการมากขึ้น ยิ่งตรวจพบได้เร็ว ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา



นพ.วรวัฒน์ เอียวสินพานิช

นพ.วรวัฒน์ เอียวสินพานิช
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ชั้น 9 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 971, 972

ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

facebook instagram line youtube
VAR_INCL_CK